Page 625 - kpi17073
P. 625
624 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
8. ปัญหาการถ่ายโอนให้ไม่ครบกระบวนการของการดำเนินภารกิจ อปท.ที่รับการถ่ายโอน
เจอปัญหาไม่สามารถบริหารภารกิจที่ถ่ายโอนได้ครบวงรอบของภารกิจนั้น เนื่องจากส่วนราชการ
ไม่ถ่ายโอนให้ครบ โดยเฉพาะอำนาจทางปกครองตามกฎหมายของภารกิจนั้นๆ ที่ระบุว่าเป็น
อำนาจของรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี ไม่ได้มีการถ่ายโอนอำนาจ หรือ ไม่สามารถ
มอบอำนาจไปให้ อปท.ได้ ด้วยข้ออ้างว่าเป็นอำนาจของราชการส่วนกลางที่ต้องดูแล รับผิดชอบ
หรือเงื่อนไขของกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ
ไม่สามารถมอบอำนาจให้ อปท.ได้ ดังนั้นอำนาจตามกฎหมายของภารกิจที่ถ่ายโอน หากไม่มีการ
แก้ไขกฎหมายนั้นๆ อปท.ก็ไม่สามารถใช้อำนาจทางปกครองได้ เช่น อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
กรมการขนส่งทางบก อำนาจตามกฎหมายน่านน้ำ เป็นต้น
9. ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณตามภารกิจที่ถ่ายโอน แผนปฏิบัติการฯถ่ายโอนภารกิจ ฉบับ
ที่สอง กำหนดเงื่อนไขว่า ภารกิจใดที่ถ่ายโอนไปให้ อปท.แล้ว ให้สำนักงบประมาณไม่มีการตั้งงบ
ประมาณให้กับภารกิจของส่วนราชการนั้น เพื่อที่จะโอนถ่ายงบประมาณไปให้ อปท.ที่ได้รับการ
ถ่ายโอนภารกิจ ในทางปฏิบัติสำนักงบประมาณไม่มีข้อมูลตรวจสอบได้ว่าภารกิจใด ของส่วน
ราชการที่ถ่ายโอนไปให้ อปท.แล้ว สำนักงบประมาณพิจารณาได้เพียงภาพรวมของงบประมาณใน
แต่ละกระทรวง กรม รายละเอียดเป็นเรื่องของ กระทรวง กรม จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเอง
และส่วนราชการระดับกรมที่ตั้งงบประมาณ ภารกิจใดที่ถ่ายโอนไปแล้วก็ไม่ได้ตั้งงบประมาณให้
แต่ไม่ได้ตัดยอดวงเงินงบประมาณของกรมลง แต่มีการสร้างงานใหม่ ขยายภารกิจขึ้นมาทดแทน
และให้บุคลากรที่เคยทำภารกิจที่ถ่ายโอนไปแล้ว ไปรับผิดชอบภารกิจใหม่ที่สร้างขึ้นมา ด้วยระบบ
การจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการใช้ฐานงบประมาณของปีงบประมาณที่ผ่านมา และเพิ่ม
งบประมาณในปีงบประมาณถัดไป ดังนั้นงบประมาณของกรมจึงไม่มีลด แต่มีแต่เพิ่ม และสำนัก
งบประมาณก็มาสามารถพิจารณาควบคุมหรือตัดทอนได้ นอกจากนั้นมีหลายกรณีที่หัวหน้าส่วน
ราชการระดับกรมอ้างว่า “นักการเมืองในพื้นที่” ร้องขอให้ขยายภารกิจ สร้างงานในพื้นที่โดยอ้าง
เหตุภารกิจนั้นสามารถทำได้แบบคู่ขนานระหว่างส่วนราชการ กับ อปท. ซึ่งแผนปฏอบัติการฯ
ถ่ายโอนภารกิจ ฉบับที่สอง ก็กำหนดไว้เช่นนั้น
10. ปัญหาทัศนคติของข้าราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหาร
ส่วนภูมิภาค มักมองว่า พนักงานส่วนท้องถิ่นมีความรู้ ความสามารถ และประสิทธิภาพในการ
ดำเนินภารกิจน้อยกว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และขาดความเชื่อมั่น หรือไว้วางใจว่า
นักการเมืองท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น จะบริหารภารกิจที่ถ่ายโอนได้ดีกว่า สิ่งเหล่านี้สะท้อน
จากข้าราชการระดับสูงในระดับผู้บริหารกระทรวง กรม เกรงว่าเมื่อถ่ายโอนภารกิจ ถ่ายโอน
บุคลากรของตนไปให้ อปท.แล้ว ภารกิจจะเสียหาย ข้าราชการจะเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็น
ธรรมหรือไม่มีความก้าวหน้า หรือขาดขวัญกำลังใจ ในระบบการบริหารงาน ระบบการบริหารงาน
บุคคลของ อปท. ดังคำกล่าวเปรียบเปรยว่า “ผมจะให้ลูกสาวไปอยู่กับคนอื่น ผมต้องมั่นใจได้ว่า
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 บุคคลนั้นจะดูแลลูกสาวผมได้ดีเท่ากับหรือดีกว่าที่อยู่กับผม”