Page 634 - kpi17073
P. 634

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   633


                      ไปสู่การหาขนาดการจัดสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการให้
                      เงินอุดหนุนแก่ อปท. ว่ามีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอะไรของรัฐบาลที่ต้องการให้ อปท. เป็น

                      หน่วยงานดำเนินการแทนรัฐบาล

                            แม้ว่าวิธีการของการกระจายอำนาจการคลังฯ ของประเทศไทยจะยึดถือตามหลักการทาง

                      วิชาการที่ยึดถือขอบเขตภารกิจของ อปท. เป็นหลักของการกำหนดประเภทและขนาดของรายได้
                      ของ อปท. เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระ สมดุลทางการคลัง (Fiscal Balance) และความรับ

                      ผิดรับชอบ (Accountability) ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร อปท. กับภาคประชาสังคม ซึ่งเป็น
                      แนวทางหลักที่ใช้ในการกระจายอำนาจการคลังฯ ของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลัง
                      พัฒนาทั้งหลาย ดังนั้นเพื่อเป็นการยืนยันความชัดเจนในหลักการนี้ การศึกษานี้จึงเป็นการนำ

                      เสนอแนวทางการปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลังฯ สำหรับกรณีประเทศไทยที่ ยึดการด้าน
                      รายได้เป็นหลัก เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวทางที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยที่จะนำ

                      ไปสู่การออกแบบการกระจายอำนาจการคลังฯ ใหม่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
                      จากเดิม


                            ภายใต้โครงสร้างระบบการคลังของประเทศไทย ที่มีแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น
                      3 ส่วนคือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น แต่ในการกระจายงบประมาณหลักๆ แล้วถูก

                      แบ่งออกเป็นเพียงส่วนกลางและท้องถิ่นเป็นสำคัญ ทำให้ภาพของการกระจายทรัพยากร
                      งบประมาณของประเทศมีสภาพของความไม่เท่าเทียมแนวตั้ง (Vertical Imbalance) เพราะ
                      ภายใต้กระบวนการกระจายอำนาจการคลังฯ ที่ผ่านมาได้กำหนดขอบเขตอำนาจของ อปท. ผ่าน

                      ของการจัดสรรเงินรายได้ของรัฐบาลที่มอบให้เป็นสำคัญ กล่าวคือสัดส่วนของขนาดรายได้ และ
                      รายจ่ายระหว่างรัฐบาลกับ อปท. ถูกกำกับโดยรัฐบาลเป็นหลัก การกระจายอำนาจการคลังฯ ของ

                      ประเทศไทยที่ผ่านมาแม้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาจากเนื้อแท้ของการเพิ่ม
                      ทรัพยากรรายได้จากการจัดสรรของรัฐบาลบทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี จะค้นพบว่าความเป็น
                      อิสระแท้จริงของ อปท. ยังไม่บรรลุเป้าหมายแท้จริงของการกระจายอำนาจฯ โดยพิจารณาได้จาก

                      ตารางที่ 1. ที่แสดงสัดส่วนรายได้ของ อปท. ที่มาจากการจัดเก็บเองอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ และ
                      แนวโน้มลดน้อยลง ขณะที่การจัดสรรรายได้ของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของ อปท.

                      ที่แม้ว่าทำให้รายได้รวมของ อปท. เพิ่มขึ้น แต่ความเป็นอิสระในการใช้จ่ายที่สามารถพิจารณา
                      สัดส่วนของเงินอุดหนุนทั่วไปที่กำหนดวัตถุประสงค์กับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจอยู่ในสัดส่วนที่เพิ่ม
                      มากขึ้นแทนที่จะลดน้อยลง                                                                            การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
   629   630   631   632   633   634   635   636   637   638   639