Page 639 - kpi17073
P. 639
638 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ความสามารถเข้าถึงบริการโดยประชาชนได้ดีกว่า หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการให้บริการโดยหน่วยงาน
ของรัฐบาลเอง ตัวอย่างเช่นการศึกษาที่การให้การบริการจัดการเรียนการสอนอาจไม่จำเป็นต้อง
เป็นของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว สามารถให้ อปท. จัดการให้บริการจัดให้มีการเรียนการสอนใน
ระดับต่างๆ ได้ แต่รัฐบาลยังคงรักษาบทบาทของการกำกับ ส่งเสริมดูแลมาตรฐานของการจัดการ
เรียนการสอนให้เหมือนกันในทุกๆ โรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการจัดโดย อปท. หรือ หน่วยงานอื่นๆ
ทั่วประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้ภารกิจจะเป็นของรัฐบาล แต่ยังคงสามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ให้
อปท. สามารถเข้าร่วมทำหน้าที่แทนรัฐบาลในบางกิจกรรมแทนรัฐบาล โดยรัฐบาลสามารถ
กำหนดประเภทภารกิจหรือกิจกรรมที่ให้ อปท. ทำแทน ในสองลักษณะดังนี้
การมอบอำนาจ: เป็นบริการสาธารณะที่รัฐบาลมอบหมายให้ อปท. ดำเนินการแทนได้ แต่
การจัดการนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด ทั้งนี้เพื่อเป้นการกำกับ
คุณภาพการให้บริการให้เหมือนกับที่รัฐบาลดำเนินการเอง และรัฐบาลยังต้องมีหน้าที่ผูกพันใน
การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ อปท. ในการทำหน้าที่ดังกล่าวตามความสามารถทางการคลังของ
รัฐบาลอย่างเต็มที่
การมอบอำนาจ: เป็นบริการสาธารณะที่ “เปิดโอกาส” ให้ อปท. สามารถเข้ามาร่วมจัดให้
บริการดังกล่าวควบคู่กับรัฐบาลได้ โดยรัฐบาลเป็นเพียงกำหนดมาตรฐานกลางการให้บริการ
ดังกล่าวเป็นแนวทางให้ อปท. ไปดำเนินการเองได้
การจัดระบบความเป็นเจ้าของงานภารกิจตามประโยชน์สาธารณะตามที่ได้กล่าวมานั้น ควร
จะต้องมีความชัดเจนให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้มีการถ่ายโอนภารกิจได้ถูกต้องกับความเป็นเจ้าของ
และการสนับสนุนทางงบประมาณจากรัฐบาล
โครงสร้างรายได้ของ อปท. ปัจจุบัน
ตามที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่าการแบ่งประเภทรายได้ของแต่ละรูปแบบ อปท. ออกจากกันให้
ชัดเจน เพื่อสะท้อนศักยภาพทางรายได้ของแต่ละ อปท. และลดความทับซ้อนและแย่งฐานรายได้
กันเองระหว่าง อปท. เมื่อพิจารณารายได้ประเภทต่างๆ ที่กำหนดให้แก่ อปท. ทุกประเภทใน
ปัจจุบันจากการวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่จริงและแนวทางการกระจายอำนาจการคลังฯ ที่เน้นการ
เพิ่มขนาดรายได้ให้ได้ตามที่กฎหมายแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 ได้ระบุไว้เป็น
สำคัญ จะพบว่า แม้มีการเพิ่มของขนาดรายได้ที่รัฐบาลมอบให้แก่ อปท. เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ในแต่ละปี แต่แนวทางของการที่ดำเนินการผ่านมาของการกระจายอำนาจการคลังฯ ยังไม่ได้ทำ
อย่างเป็นระบบที่เชื่อมโยงกันระหว่างภารกิจหน้าที่ที่แต่ละ อปท. ต้องรับผิดชอบกับขนาดรายได้ที่
ควรต้องมีเพื่อใช้สนับสนุนการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถ่ายโอนความรับผิดชอบ การดำเนินการ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ตามขนาดภารกิจที่ อปท. แต่ละประเภทต้องมีรายได้เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่นั้นๆ การเริ่มต้น
ที่ผ่านมาเน้นความสำคัญของการเพิ่มขนาดรายได้ที่ โดยไม่ได้พิจารณาการกระจายตัวของรายได้
พิจารณาขนาดรายได้ของ อปท. จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจกำหนดได้อย่างอิสระจากภารกิจหน้าที่
ที่ถ่ายโอนให้แก่ อปท. และไม่ได้ออกแบบการเพิ่มของรายได้ที่มุ่งสร้างความเป็นเจ้าของรายได้
และความรับผิดรับชอบของ อปท. ต่อรายได้ที่ได้รับจากรัฐบาล และต่อประชาชนในพื้นที่