Page 638 - kpi17073
P. 638

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   637


                            ข้อสังเกตจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีผลต่อการกระจายอำนาจทางการคลังอย่างชัดเจนมี
                      2 ประเด็น คือ


                             ๏ การกระบวนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. นั้น มีการกำหนดข้อบัญญัติเพื่อให้เกิด
                                การขับเคลื่อนกระบวนการกระจายอำนาจทางการคลังควบคู่กับไปกับการกระจาย

                                อำนาจทางการปกครอง และการบริหารงานบุคคล


                             ๏ กฎหมายได้กำหนดผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้บริการ
                                สาธารณะในระดับพื้นที่อย่างชัดเจนซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องมีความรับผิดรับชอบ
                                (Accountability)  มากขึ้น
                                                2

                            จากข้อกำหนดดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาสิ่งที่ถูกวางแผนออกแบบไว้เดิมนั้นไม่ได้ผิดพลาด

                      แต่จะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด โดยประเด็นหลักคือ การจำแนกภารกิจ
                      ของ อปท. ออกจากรัฐบาลจำเป็นต้องให้มีความชัดเจนที่สุดซึ่งจำเป็นต้องมีการแยกแยะงานแต่ละ
                      ประเภทออก(Unbundle)เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละประเภทของภารกิจที่กำหนดให้ถ่ายออกนั้น

                      กิจกรรมใดจะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลหรือของ อปท. ที่มีกรอบการแบ่งลักษณะงาน
                      ออกเป็น


                             1. บริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท. อย่างแท้จริง ประโยชน์ที่เกิดขึ้น

                                จากการตัดสินใจการให้บริการสาธารณะอยู่ในการดูแลของ อปท.อย่างเบ็ดเสร็จและ
                                ผู้รับบริการแท้จริงคือประชาชนเฉพาะของท้องถิ่นหนึ่งๆ เท่านั้น การตัดสินใจให้บริการ
                                สาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะต้องมีหลักเกรฑ์มาตรฐานของงานนั้นๆ ที่

                                กำหนดโดยหน่วยงานรัฐบาลเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันทุกๆ อปท. ทั่วประเทศ

                             2. บริการสาธารณะที่จะเป็นของ อปท. นั้น แม้จะมีมาตรฐานการให้บริการที่เหมือนกัน

                                แต่ไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปแบบวิธีการให้บริการที่เหมือนกัน (Uniformity) ในทุกๆ อปท.
                                เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการให้บริการของ อปท. เองที่เหมาะสมกับพื้นที่และ

                                ความต้องการประชาชนที่มีแตกต่างกัน


                            สำหรับบริการสาธารณะที่ต้องรักษาไว้เป็นของรัฐบาลคือบริการที่มีลักษณะของบริการที่มี
                      ประโยชน์ไม่เฉพาะกับประชาชนในพื้นที่ อปท. หนึ่งๆ เท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นกับประชาชนทุกๆ
                      คนในประเทศ ตัวอย่างของบริการสาธารณะประเภทนี้ได้แก่ การศึกษา การสาธารณสุข งาน

                      ทะเบียนราษฎร์ ฯลฯ รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบการให้บริการ แต่อาจไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ทำหน้าที่
                      ให้บริการด้วยตัวเองทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว แต่ อปท. สามารถเข้ามาร่วมให้บริการกับหน่วยงาน

                      ราชการที่เป็นเจ้าภาพหลัก หรือกล่าวอีกนัยคือบางกิจกรรมของงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าสามารถที่จะ
                      จำแนกแยกแยะ (Unbundle) ออกมาได้ว่าที่รัฐบาลเป็นเจ้าของนั้น อาจมีกิจกรรมบางประเภท
                      ที่สามารถเปิดโอกาสให้ อปท. ร่วมเข้ามาให้บริการได้ ทั้งด้วยเหตุผลของความประสิทธิภาพ



                          2   Tiebout, Charles. 1956. A Pure Theory of Local Expenditure. Journal of Political Economy 64:    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      416 - 424.
   633   634   635   636   637   638   639   640   641   642   643