Page 641 - kpi17073
P. 641

640     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  องค์การบริการส่วนตำบล และ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกัน
                  จะทำให้ประเภทของรายได้และวิธีการจัดสรรนั้นอาจไม่จำเป็นที่ต้องมีความเหมือนกันทั้งหมด

                  ในทุกรูปแบบของ อปท. ซึ่งประเด็นนี้ทำให้การกำหนดรายรับนั้นต้องพิจารณาทั้งจากแต่ละ
                  ประเภทรายได้ว่ามีความเหมาะสมและความสามารถในการบริหารจัดการของ อปท. กันอย่างไร
                  รวมทั้งต้องพิจารณาผลลัพธ์ที่มีต่อขนาดรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละรูปแบบของ อปท. เพื่อเป็น

                  ความพยายามให้เกิดความเป็นอิสระและความรับผิดชอบทางการคลังด้วยตนเองของ อปท.
                  มากที่สุด


                       แนวโน้มปัจจุบันของขนาดรายรับของ อปท. ในภาพรวม พบว่า เมื่อคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
                  ของรายได้รวมของรัฐบาลแล้วจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 27 ในปี 2556 รายละเอียดแสดงให้เห็น

                  ในแผนภาพที่ 1. เนื่องจากแผนการกระจายอำนาจด้านการคลังฯได้มีผลในทางปฏิบัติครั้งแรกในปี
                  2544 ทำให้มีผลต่อสัดส่วนของรายรับของ อปท. เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากข้อมูลพบว่า ในปี 2549

                  อปท. มีรายรับคิดเป็นร้อยละ 24.05 จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า การถ่ายโอนอำนาจทาง
                  การคลังฯ ได้ทำให้รายได้ของ อปท. เพิ่มขึ้นตามกฎหมายฯ เพื่อให้นำรายได้ที่เพิ่มนี้ไปใช้
                  สนับสนุนการใช้จ่ายตามหน้าที่ที่ได้ถูกโอนย้ายจากรัฐบาลไปยัง อปท. ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้น

                  ในแผนการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ไปยัง อปท. ที่สัดส่วนของรายรับของ อปท. ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่าง
                  ต่อเนื่อง โดยได้ขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 25.82 ในปี 2552 แต่ได้ลดต่ำลงเนื่องจากสภาวการณ์ทาง

                  เศรษฐกิจของประเทศที่ประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ ทำให้รายได้ของ
                  รัฐบาลที่นำไปใช้จัดสรรและอุดหนุนให้แก่ อปท. มีจำนวนลดน้อยลงในปีดังกล่าว แต่ในช่วงปี
                  งบประมาณต่อมาตั้งแต่ปี 2553- 2556 สัดส่วนรายได้ อปท. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ

                  27.27 ในปี 2556


                       ที่น่าสังเกตคือ รายรับที่รัฐบาลจัดเก็บแบ่งให้ และรายรับที่รัฐบาลแบ่งให้ และรายรับจาก
                  เงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นแหล่งรายรับที่สำคัญของ อปท. ของประเทศไทย สำหรับรายรับที่
                  ท้องถิ่นจัดเก็บเองถือได้ว่ามีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับรายรับรวม ตลอดช่วงปี 2544-2556

                  ชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างรายรับในปัจจุบันสำหรับ อปท. ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการทำให้เกิด
                  ความเป็นอิสระทางการคลังและลดการพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ซึ่งเห็นได้จากสัดส่วน

                  รายรับของท้องถิ่นจากเงินอุดหนุนเป็นแหล่งรายรับที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจมีแนวโน้มลด
                  ลงบ้างในบางปีเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ถึงกระนั้นก็ตามการลดลง
                  ดังกล่าวก็ได้รับการชดเชยโดยการเพิ่มขึ้นของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ที่มีมากขึ้นอย่าง

                  มาก (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แสดงในแผนภาพที่ 2


                       ขณะเดียวกันเงินรายได้จากการจัดสรรทั้งที่เป็นภาษีจัดสรรและเงินอุดหนุนทั้งที่เป็นแบบ
                  ทั่วไปหรือมีเงื่อนไข ถือเป็นทรัพยากรทางการคลังจากรัฐบาลที่สำคัญที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ของ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   สรรไปยัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล ต่างๆ โดยสัดส่วน
                  อปท. โดยผ่านกระบวนการจัดสรรงบประมาณในแต่ละระดับ อปท. เงินอุดหนุนทั่วไปจะถูกจัด


                  การจัดสรรมาจากการจัดสรรตามสูตรที่มีตัวแปรด้านจำนวนประชากรเป็นสำคัญเพื่อใช้กำหนด

                  สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ และขนาดพื้นที่ที่ให้บริการเป็นหลัก อย่างไรก็ดีตัวแปรดังกล่าว
   636   637   638   639   640   641   642   643   644   645   646