Page 579 - kpi17073
P. 579

578     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  เป็นเอกภาพความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐเลย เพราะเราเสนอว่า การปกครองท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่ง
                  ของรัฐ เพียงแต่ว่าโดยหลักทั่วไปในการจัดสัมพันธภาพของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยทั่วไป

                  เราจะพบว่า รัฐทั่วโลกไม่มีรัฐใดที่รวมศูนย์อำนาจสมบูรณ์ในการบริหารประเทศโดยสมบูรณ์จริงๆ
                  แล้วการกระจายอำนาจกับการรวมศูนย์อำนาจไม่ใช่ขั้วตรงข้าม แต่เป็นหลักปกติเพื่อใช้ในการ
                  จัดโครงสร้างการบริหารประเทศซึ่งจะต้องทำทั้งสองหลักพร้อมๆ กัน บางส่วนต้องรวมศูนย์

                  บางส่วนต้องกระจาย แต่อะไรควรรวม อะไรควรกระจายอันนี้มีความหลากหลายในแต่ละประเทศ
                  ว่า เราจะรวมเรื่องใดเพื่อประโยชน์อะไร บางส่วนเราต้องกระจายในด้านไหนเพื่อเป้าประสงค์อะไร

                  เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงการกระจายอำนาจเป็นเรื่องของการจัดสรรแบ่งปันอำนาจภายในรัฐว่า
                  รัฐควรจัดสรรอำนาจเรื่องนั้นเรื่องนี้ ใครทำ และทำแบบรวมศูนย์หรือแบบกระจาย นี่เป็นเรื่อง
                  ปกติธรรมดามาก เวลาที่เราดูเรื่องการกระจายอำนาจ เราก็จะดูขั้วตรงกันข้ามเป็นศัตรูกับ

                  คนซึ่งอยากรวมศูนย์ ส่วนคนรวมศูนย์ก็จะมองคนฝ่ายกระจายอำนาจเป็นศัตรู เมื่อไรก็ตาม
                  เมื่อเราพูดถึงข้อเสียของการรวมศูนย์เราก็จะบอกว่ารวมศูนย์มันแย่อย่างนั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

                  เราต้องทำลายโครงสร้างรวมศูนย์ แต่เมื่อเราพูดถึงท้องถิ่น ท้องถิ่นมีปัญหา มีการทุจริต มีความ
                  รุนแรง เราก็จะต้องว่าการกระจายอำนาจแย่ เพราะฉะนั้น ต้องเลิกการกระจายอำนาจ จริงๆ
                  ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามแต่ต้องอยู่คู่กัน ปัญหาอยู่ที่เราขจัดความสมดุลของสัมพันธภาพระหว่างสอง

                  แนวคิดในทางปฏิบัติคือทางบริหารราชการแผ่นดินอย่างไรให้เหมาะสม จึงอยากตั้งประเด็นชวน
                  คิดล่วงหน้าว่า ประเทศเราล้มเหลวทั้งการรวมศูนย์และกระจาย หมายความว่าโครงสร้างซึ่งคนจะ

                  รวมศูนย์เรามีปัญหามาก ส่วนโครงสร้างที่กระจายเราก็ยังมีปัญหาต้องแก้อยู่ คือ มีปัญหาทั้งคู่
                  เพราะฉะนั้นเรื่องการปฏิรูปประเทศจึงอยากให้มองภาพใหญ่ เป็นการบริหารราชการแผ่นดิน
                  ผมเชื่อว่าผู้ที่เป็นข้าราชการจะทราบดีว่า เรามีปัญหาอะไรในราชการส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่นก็มี

                  ปัญหาหลายเรื่องที่ต้องแก้กันไป แต่ทั้งสองส่วนไม่ใช่ศัตรูกัน คำถามคือว่า แล้วเราจะกระจาย
                  อย่างไร กระจายแค่ไหน กระจายในเรื่องอะไร เราจะรวมศูนย์ในเรื่องอะไร อันนี้ขึ้นอยู่กับสังคม

                  ในแต่ละประเทศว่าจะให้คุณค่าในเรื่องอะไร เช่น จะเน้นความเป็นเอกภาพในนามรัฐนิยม
                  หรือความเป็นพหุนิยมในสังคม เราจะเน้นเรื่องความเป็นแบบแผน และมาตรฐาน หมายความว่า
                  เราอยากให้ประเทศเน้นความเป็นแบบแผน เช่น ในเรื่องสาธารณสุขที่เน้นความเป็นมาตรฐาน

                  ในเรื่องเดียวกัน หรือว่าจะมุ่งเน้นความจำเพาะเจาะจงเฉพาะถิ่นที่มีความต้องการ มีปัญหาต่างกัน
                  หรือจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพกับการมีส่วนร่วม การรวมศูนย์ก็ดี หากเรารวมศูนย์อย่างเป็นระบบ

                  ระเบียบก็จะทำให้การใช้ทรัพยากรใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ถ้าเรากระจายอำนาจออกไป
                  หลายหน่วย ซึ่งจะมีข้อดีของการมีส่วนร่วมแต่อาจจะกระทบเรื่องความมีประสิทธิภาพ
                  หรือในเรื่องการบริหารจัดการเอง เราจะเน้นแนวคิดเรื่องการจัดการนิยมที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพ

                  ประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ของงาน หรือเราจะเน้นการมีส่วนร่วมตามหลักคุณค่าในแบบ
                  ประชาธิปไตยที่เน้นความโปร่งใสในการมีส่วนร่วม คู่ขัดแย้งเหล่านี้จะช่วยให้เราใคร่ครวญกันต่อว่า

                  หากเราจะออกแบบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม ส่วนใดเราต้องเน้นความเป็น
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   ทำเองแล้วดีกว่า ส่วนใดถ้าให้ท้องถิ่นประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมน่าจะทำได้ดีกว่า เราต้องแยกคุย
                  แบบแผนมาตรฐาน ส่วนงานใดที่เราต้องให้ท้องถิ่นตัดสินใจได้เอง ส่วนใดที่เราคิดว่าให้ส่วนกลาง



                  เป็นเรื่องๆ อย่าเหมารวมทั้งระบบ บางเรื่องส่วนกลางทำดีกว่าแน่นอน บางเรื่องการเก็บขยะ
                  จัดสวัสดิการ รดน้ำต้นไม้ ผมไม่คิดว่าส่วนกลางจะทำได้ดีกว่าท้องถิ่น คือมันต้องแยกกันมอง
   574   575   576   577   578   579   580   581   582   583   584