Page 574 - kpi17073
P. 574

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   573


                      ตาราง 2 สถิติการยื่นถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของไทย


                                    พื้นที่ยื่นถอดถอน                วัน/เดือน/ปี         ผลการยื่นถอดถอน
                       อบต.โพนงาม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม          2 ก.พ. 2546     มติไม่พ้นตำแหน่ง

                       อบต.โนนภิบาล อ.แกดำ จ.มหาสารคาม              2 ก.พ. 2546     ไม่มีการลงคะแนนเสียงถอดถอน

                       (ถอดถอนสมาชิกสภาตำบล หมู่ 11)                                เนื่องจากผู้เข้าชื่อถอดถอนมี
                                                                                    จำนวนไม่ถึงหนึ่งในห้าของผู้มี
                                                                                    สิทธิเลือกตั้งในเขต
                       อบต. ห้วยโก้น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน       28 ม.ค. 2550  พ้นจากตำแหน่ง

                       อบต.ป่าแฝก อ.พรเจริญ จ.หนองคาย               17 มี.ค. 2550   มติไม่พ้นตำแหน่ง

                       อบต.หาดสูง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์             18 มี.ค. 2550   มติไม่พ้นตำแหน่ง

                       อบต.พระธาตุ อ.เชียงกลาง จ.น่าน               12 ม.ค. 2551    มติไม่พ้นตำแหน่ง

                       อบต.นาเสียว อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ         27 ม.ค. 2551    พ้นจากตำแหน่ง
                       เทศบาลตำบลบ้านเกาะ อ.เมือง จงอุตรดิตถ์        7 ธ.ค. 2551    มติไม่พ้นตำแหน่ง

                       อบต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ             7 มี.ค. 2552    พ้นจากตำแหน่ง

                      ที่มา: อภิชาต สถิตนิรามัย. (2554). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน,
                      เรื่องเดียวกัน, น. 172.


                            อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่ได้สำรวจเบื้องต้นพบว่าในการยื่นถอดถอนของจังหวัดน่านก็แสดง
                      ถึงความเคลื่อนไหวของประชาชนที่ได้ใช้กลไกการเสนอถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยตามจาก

                      ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดน่านพบว่าในจังหวัดมีการยื่นถอดถอนทั้งสิ้น
                      2 ครั้ง โดยในกรณีที่ถอดถอนสำเร็จนั้นเกิดจากการที่มีประชาชนเข้ามาใช้สิทธิถอดถอนเกิน
                      กึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมดในพื้นที่ และมีจำนวนคะแนนเสียงเห็นด้วยให้มีการ

                      ถอดถอนสูงถึงร้อยละ 85 ในขณะที่อีกกรณีหนึ่งกลับไม่สามารถถอดถอนได้เนื่องจากมีผู้มา
                      ลงคะแนนเสียงไม่ถึง 3 ใน 4 ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ อย่างไรก็ตามก็มีผู้ลงคะแนนเสียงเห็นด้วย

                      ให้มีการถอดถอนที่ร้อยละ 55.72                                                                      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
   569   570   571   572   573   574   575   576   577   578   579