Page 577 - kpi17073
P. 577
576 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
หรืออนุมัติกฎหมาย การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยหลักการลง
23
ประชามติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผลของการมีส่วนร่วมผ่าน
การลงประชามติไว้ในมาตรา 165 จะกระทำได้ในกรณีที่
1) คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ
หรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธาน
สภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการ
ออกเสียประชามติหรือ
2) ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยการออกเสียงประชามติ
อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อหาข้อยุติโดยเสียงข้างมาของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
หรือเป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้เว้นแต่จะมีกฎหมาย
บัญญัติเป็นการเฉพาะ โดยที่ก่อนการออกเสียงประชามติรัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูล
อย่างเพียงพอและให้บุคคลทั้งฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในกิจการนั้นสามารถแสดง
ความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียม โดยหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้
เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญยังกล่าวถึงการออกเสียงประชามติในมาตรา 287 วรรค 2 ว่าใน
กรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชนของท้องถิ่นในสาระสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้
ประชาชนทราบก่อนกระทำการเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควรหรือได้รับการร้องขอ
จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
ก่อนการกระทำหรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย
บัญญัติ ซึ่งเป็นการบังคับโดยนิตินัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ข้อมูลรายละเอียดในการ
กระทำที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก่อนการกระทำเป็นเวลาสมควรหมายถึง
ต้องมีการแสดงข้อมูลในเวลาที่เหมาะสมล่วงหน้าเป็นเวลาสมควรก่อนที่จะจัดให้มีการรับฟังความ
คิดเห็นของประชาชนหรือลงประชามติ เพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แจ้งและให้
ข้อมูลในระยะเวลาที่กระชั้นชิดอ้างได้ว่าได้แจ้งข้อมูลไปแล้ว 24
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญไทยจะมีบทบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมผ่านการลงประชามติ
และมีการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552
มารองรับแต่ในความเป็นจริงประเทศไทยยังไม่มีการทำประชามติของท้องถิ่นในทางปฏิบัติ
แต่อย่างใด 25
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 24 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2552). เรื่องเดียวกัน, น. 87.
23
วุฒิสาร ตันไชย. (2552). ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น, เรื่องเดียวกัน, น. 220-221.
อรทัย ก๊กผล ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ ภควัต อัฉริยปัญญา อภิวรรณ ซัคเซ็ก และรัชฎา เจือจันทร์. (2552).
25
รายงานการศึกษาวิจัยการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ..... . กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า. เรื่องเดียวกัน, น. 116.