Page 580 - kpi17073
P. 580

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   579


                      อีกประเด็นหนึ่งคือว่า จากชุดคุณค่าที่ต่างกันนำมาสู่การออกแบบสถาบันทางการเมือง
                      ในระดับประเทศที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะมีคู่ความคิดช่วยในการพิจารณา ประเด็นที่หนึ่งคือเรื่อง

                      การจัดการบริหารโครงสร้างภายในรัฐคือเรื่องการรวมศูนย์และการกระจาย ถ้าเริ่มจากโครงใหญ่
                      มีสองระบบใหญ่ในปัจจุบัน คือ ระบบรัฐเดี่ยวกับสหพันธรัฐ แต่ย้ำนิดหนึ่งว่าการกระจายอำนาจ
                      ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกระบบไหน ในกรณีของไทยเราเลือกที่จะเป็นรัฐเดี่ยวแต่ใช่ว่าระบบรัฐเดียว

                      จะกระจายอำนาจมากไม่ได้ มันกระจายมากได้ ยกตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักรกระจายอำนาจ
                      มีการโอนอำนาจครั้งใหญ่จนกระทั่งมีอำนาจนำไปสู่ท้องถิ่นมากกว่าบางประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ

                      เสียอีก อย่างเช่น ประเทศมาเลเซียเป็นสหพันธรัฐแต่เป็นสหพันธรัฐที่รวมศูนย์ อำนาจไม่ได้ลงสู่
                      พื้นที่มากเท่าไหร่ แต่บางประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวสามารถเอาอำนาจลงไปสู่พื้นที่ได้ ประเด็นถัดมา
                      คือการจัดโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ของไทยเราเลือกระบบรัฐเดี่ยวแต่ภายใต้

                      โครงสร้างรัฐเดี่ยวสามารถออกแบบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินได้หลายหลาก ขึ้นอยู่กับ
                      ว่างานใดเหมาะกับเรื่องอะไร ตัวที่กำหนดหลักคิดมีคอนเซ็ปทางกฎหมายอยู่สองประการคือ

                      ความเป็นเจ้าของอำนาจตามกฎหมาย เพราะรัฐจะทำอะไรต้องมีฐานกฎหมายรองรับ
                      ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ แต่อำนาจนั้นแยกเป็นสองส่วน คือ ความเป็นเจ้าของอำนาจ
                      ในทางกฎหมายและอำนาจในการดำเนินการ ทั้งสองส่วนเราต้องแยกออกจากกันและ

                      ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเสมอไป หมายความว่า โดยทั่วไปในงานสำคัญซึ่งรัฐมองว่ากระจาย
                      อำนาจแบ่งไปให้ใครไม่ได้ รัฐก็จะกระทำโดยตรงผ่านกลไกราชการบริหารส่วนกลางโดยตรง

                      นี่ก็จะเป็นไปตามหลักรวมศูนย์และก็จะจัดโครงสร้างองค์กรตามสายการบังคับบัญชาหรือเรียกกันว่า
                      “Hierarchy” ก็คือ ครม.เหมือนเป็นผู้บังคับบัญชา กระทรวง ทบวง กรมก็เป็นเหมือนผู้ใต้บังคับ
                      บัญชา ความสัมพันธ์ก็จะลดหลั่นกันไป มีความเป็นเอกภาพสูง แต่นั่นอำนาจในการเป็นเจ้าของ

                      อำนาจจะเบ็ดเสร็จอยู่ในส่วนกลาง แต่อย่างไรก็ดีในโลกของการปฏิบัติจริงการเคลื่อนงานของรัฐ
                      จะไม่เคลื่อนผ่านกลไกราชการทั้งหมดเพราะว่าประเทศใหญ่ ปัญหาเยอะ ก็จะมีการกระจาย

                      อำนาจออกไปซึ่งทำได้หลายแบบ เช่น การแบ่งอำนาจการตัดสินใจบางส่วนให้กลไกราชการ
                      ส่วนกลางมีอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น การบริหาร
                      ราชการส่วนจังหวัด ตำบล หมู่บ้าน โดยผู้ว่าฯ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ใช้หลักการ

                      แบ่งอำนาจ (Decentralization) แต่ไม่ใช่การกระจายอำนาจแท้ๆ แต่เป็นการลดสภาพการ
                      กระจุกการรวมศูนย์ในโครงสร้างแบบรวมศูนย์ นอกจากนั้น ยังมีวิธีการอื่นในการทำให้งานของรัฐ

                      คล่องตัวขึ้น เช่น ในการ delegation ซึ่งเราใช้กันมากขึ้น แนวคิดนี้คืออำนาจและความเป็น
                      เจ้าของอำนาจยังเป็นของรัฐหรือยังเป็นของส่วนกลาง แต่ส่วนกลางไม่ต้องทำเองสามารถมอบให้
                      คนอื่นเพื่อให้คนอื่นมีอำนาจในการดำเนินการแทนรัฐภายใต้ข้อตกลงที่รัฐใช้เป็นตัวกำกับ เช่น

                      กลุ่มองค์การมหาชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ ในการที่รัฐไปทำ contract กับ เอกชนหรือ
                      ภาคประสังคม ก็เป็นวิธีการในการถ่ายอำนาจออกไป ส่วนสุดท้ายคือ devolution เป็นการ

                      โอนถ่ายอำนาจออกไปทั้งความเป็นเจ้าของและอำนาจในการดำเนินการ ตัวอย่างที่ชัดคือท้องถิ่น
                      อำนาจใดที่โอนให้กับท้องถิ่นแล้วท้องถิ่นก็มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินการนั้น
                      โดยสมบูรณ์ จากเรื่องโครงสร้างใหญ่ อันที่สามที่มาช่วยในการออกแบบระบบซึ่งอาจจะใช้เป็น

                      เกณฑ์ในการออกแบบระบบ นั่นคือ นโยบายด้านสาธารณะ คือ กระบวนการขับเคลื่อนทาง                          การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      นโยบายนั้นเราจะเน้นอย่างอะไร ซึ่งมีอยู่สองฟาก หนึ่งคือ การกำหนดนโยบายแบบรวมศูนย์
   575   576   577   578   579   580   581   582   583   584   585