Page 583 - kpi17073
P. 583

582     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ส่วนกลางมีปัญหาในเชิงโครงสร้างการประสานงาน เพราะฉะนั้น คำถามที่อยากจะชวนกันคิด คือ
                  การที่เราไม่ยอมปรับโครงสร้างรวมศูนย์ที่ส่วนกลางนั้น เพราะอะไร ถ้าเรายังคงโครงสร้างการ

                  รวมศูนย์อำนาจ รวมไปเพื่ออะไร ซึ่งผมมองว่าโครงสร้างที่เป็นอยู่ไม่ใช่การจัดโครงสร้าง
                  เพื่อเป้าประสงค์รวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ซึ่งเป็นการรวมศูนย์อำนาจเพื่อรวมการตัดสินใจ
                  และการดำเนินการ แต่เอาเข้าจริงผมไม่แน่ใจว่า ครม.นั้นสามารถตัดสินใจดำเนินการได้ทุกเรื่อง

                  จริงหรือไม่ มองอีกแบบโครงสร้างที่เป็นปัญหาของเราไม่ใช้การรวมศูนย์อำนาจ (Centralization)
                  แต่เป็นเรื่อง การทำให้ทุกส่วนกลายเป็นราชการเหมือนกันหมด (Bureaucratization) นี่ต่างหากที่

                  เป็นปัญหา ในทัศนะผม คือ รวมศูนย์นั้นยังไม่เป็นปัญหาและเราก็ยังรวมศูนย์ไม่พอด้วยซ้ำไป
                  อย่างเช่นเรื่องที่เราไม่เคยทำได้แต่ในต่างประเทศเป็นเรื่องที่เขาต้องทำกันคือ “การรวมศูนย์ในเชิง
                  ยุทธศาสตร์” ประเทศไทยยังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อะไรไม่ได้เลย แล้วในระดับชาติ ระดับพื้นที่เรา

                  จะเรียกว่ารวมศูนย์ได้อย่างไร ซึ่งหากเรายังอ้างอยู่ว่าการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังมีปัญหา จึงยัง
                  ไม่ควรทำไปผมคิดว่า เราต้องกลับมาทบทวนใหม่ ถ้าเราจะรวมศูนย์เราจะรวมไปเพื่ออะไร อาจจะ

                  มีประเด็นอยู่ 4 ประเด็นที่ใช้วางหลักว่าเราจำเป็นต้องรวมศูนย์ ประเด็นที่หนึ่ง เราจำเป็นต้องมี
                  ความเป็นเอกภาพภายในรัฐ ประเด็นที่สอง เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานในการจัดบริการ
                  สาธารณะและระบบกฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ในระบบเศรษฐกิจ อันนี้กระจายอำนาจไม่ได้ต้องให้

                  คนเดียวทำ ไม่อย่างนั้นจังหวัดปทุมธานีใช้เงินตราสกุลหนึ่ง จังหวัดนนทบุรีใช้เงินอีกสกุลหนึ่งมันก็
                  จะวุ่นวาย คือ ต้องมีคนเดียวทำ มาตรการการศึกษา มาตรฐานการสาธารณสุขต้องมีคนเดียวทำ

                  และส่วนกลางควรจะเป็นผู้ทำ ถัดมาประเด็นที่สาม สิ่งสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 สิ่งที่หลาย
                  ประเทศกำลังทำคือ การรวมศูนย์ในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อันนี้
                  ต้องทำ คำถามคือ เราทำหรือยัง เราทำได้หรือไม่ อันสุดท้ายอาจจะเกี่ยวพันกับเรื่องอาจารย์ดิเรก

                  ก็คือ เรื่องการสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อลดปัญหาความลักลั่น ความไม่เท่าเทียมกัน
                  ในสังคม เราจะให้ท้องถิ่นทำเรื่องนี้ไม่ได้ ส่วนกลางต้องทำ เพราะส่วนกลางดูภาพรวม ที่ผ่านมา

                  เมื่อเราพูดเรื่องการกระจายอำนาจ สิ่งที่ส่วนกลางมักใช้อ้างในการตอบ คือ เรื่องความเป็น
                  เอกภาพซึ่งมีปัญหามานาน เมื่อสิบกว่าปีก่อน เมื่อเราพูดเรื่องการกระจายอำนาจ ฝ่ายที่ไม่เห็น
                  ด้วยมักบอกว่าการกระจายอำนาจนั้นอันตราย หากเรากระจายอำนาจมากไป จะไปกระทบกับ

                  ความเป็นรัฐเดี่ยวอันเป็นหนึ่งเดี่ยวแบ่งแยกไม่ได้อาจจะทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน แต่หากเรา
                  ไปดูเรื่องการกระจายอำนาจในนานาประเทศ ที่ผ่านมาเราพบหลักฐานชัดเจน การกระจายอำนาจ

                  ไม่เคยเป็นต้นเหตุของการสร้างความแตกแยกหรือการแบ่งแยกดินแดน แต่การกระจายอำนาจ
                  กลับเป็นเครื่องมือในการลดความแตกแยก และที่สำคัญทำให้กระบวนการแบ่งแยกดินแดนนั้น
                  ไม่เกิดความรุนแรง พูดง่ายๆ การกระจายอำนาจกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็น

                  เอกภาพและลดปัญหาความแตกต่างความแตกแยกภายในรัฐต่างหาก จะดูได้ที่ประเทศ
                  อินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ที่การกระจายอำนาจกลายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเรื่องนี้

                  หรืออย่างกรณีการทำ Referendum เพื่อแยกสก๊อตแลนด์ จะเห็นได้ว่า ขบวนการแบ่งแยกดิน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   สหราชอาณาจักรต่อไปไม่เคยมีความรุนแรง เพราะใช้กระบวนการอย่างปกติใช้การกระจายอำนาจ
                  แดนเริ่มอย่างเป็นทางการ ใน 1920 มาเริ่มการทำ Referendum ซึ่งในท้ายที่สุด เขาก็ยังอยู่ใน



                  ความรุนแรงจึงไม่เกิดขึ้นจึงอยากให้นำมาใช้กับภาคใต้ เพราะฉะนั้นโดยสรุป อยากจะชวนให้
                  ทุกท่านคิดและฝากประเด็นทิ้งไว้ คือ การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจไม่ได้อยู่ขั้ว
   578   579   580   581   582   583   584   585   586   587   588