Page 576 - kpi17073
P. 576
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 575
พิจารณาของท้องถิ่น เมื่อสภาท้องถิ่นผ่านการพิจารณาร่างดังกล่าวและได้รับความเห็นชอบจาก
สภา จะต้องส่งร่างดังกล่าวไปให้นายอำเภอ (ในกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา (ในกรณีของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด) ถ้านายอำเภอ
และผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบในร่างข้อบัญญัติดังกล่าว ให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วย
เหตุผลไปยังสภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาใหม่ได้ โดยการพิจารณาใหม่ถ้าสมาชิกสภาท้องถิ่นมีมติ
ยืนยันตามร่างข้อบัญญัติเดิมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกท้องถิ่นเท่าที่มีอยู่ ก็ให้
ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศใช้ข้อบัญญัตินั้นต่อไป (อบต. มาตรา 71 เทศบาล มาตรา 62 และ
อบจ. มาตรา 53) 21
แต่การเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นก็มีปัญหาบางประการ เนื่องจากได้กำหนดจำนวนผู้เข้าชื่อ
เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นตามจำนวนประชากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในหลายพื้นที่ที่ต้อง
อาศัยจำนวนผู้เข้าชื่อตั้งแต่ 10,000-25,000 คน 25,001-50,000 คน และ 50,000 คนขึ้นไป
ตามลำดับ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่มากกว่าที่ใช้ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในระดับประเทศที่กำหนดให้ใช้
รายชื่อประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งเพียง 10,000 รายจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศเท่านั้น
จึงทำให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายในท้องถิ่นทำได้อย่างยากลำบากและมีต้นทุนสูงกว่าการเข้าชื่อ
เสนอกฎหมายในระดับประเทศ 22
ตาราง 4 จำนวนผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในแต่ละช่วงของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ใช้จำนวนประชากรแทน) จำนวนผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ
1-5,000 1-2,500
5,001-10,000 2,501-5,000
10,001-20,000 5,001-10,000
20,001-50,000 10,001-25,000
50,001-100,000 25,001-50,000
มากกว่า 100,000 มากกว่า 50,000
ที่มา: พระราชบัญญัติว่าด้วยการเสนอชื่อข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542
การล ประ า eferend m
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่ง
คือการลงประชามติ (Referendum) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นด้วยการลง
คะแนนเพื่อลงมติชี้ขาดเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมากเช่น การร่าง
21 อภิชาต สถิตนิรามัย. (2554). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน,
เรื่องเดียวกัน, น. 161-162. การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
22 เรื่องเดียวกัน, น. 164.