Page 571 - kpi17073
P. 571
570 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ที่กลุ่มผู้มีอิทธิพลจะมีบทบาทนำและผูกขาดการเมืองในพื้นที่ ซึ่งความรุนแรงของการซื้อสิทธิขาย
12
เสียงยังบั่นทอนความชอบธรรมของกระบวนการการกระจายอำนาจ
อย่างไรก็ตามปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ปัญหาของระบบอุปถัมภ์และกลุ่มผู้มีอิทธิพลของ
ท้องถิ่น ก็ถูกนักวิชาการบางฝ่ายเห็นแย้งว่าอาจไม่ได้มีความรุนแรงและครอบงำการตัดสินใจ
เลือกตั้งของประชาชนมากกว่าที่คิด เนื่องจากประชาชนได้พิจารณาถึงปัจจัยเชิงศักยภาพ ความ
สามารถ และเครือข่ายของผู้สมัครในการดึงทรัพยากรมาสู่พื้นที่ และมีกระบวนการต่อรอง
ระหว่างประชาชนและผู้ลงรับสมัครการเลือกตั้งมากขึ้น จนทำให้แม้ว่าผู้สมัครจะมีการจ่ายเงิน
ซื้อเสียงก็จริงแต่มิได้หมายความว่าการจ่ายเงินเป็นจำนวนมากจะส่งผลให้ผู้สมัครคนนั้นชนะการ
เลือกตั้งได้เพราะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณาของประชาชนด้วย เช่น การทำ
คุณประโยชน์ของผู้สมัครในพื้นที่ โดย อภิชาต สถิตนิรามัย ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัครพันธุ์.
(2556) เสนอว่าการกระจายอำนาจและการลงหลักปักฐานของสถาบันทางการเมืองทั้งในระดับ
ชาติและท้องถิ่นตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดการสร้างแรงจูงใจให้
นักการเมืองตอบสนองความต้องการของผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้น นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมและเศรษฐกิจตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 ทำให้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในแนวดิ่งกลับลด
บทบาทลงและกลับเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนที่เท่าเทียมในรูปแบบแนวนอนมากขึ้น 13
นอกจากนี้การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการเลือกตั้งทางตรงในระดับ
อบต. และเทศบาล ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนได้สร้างความใกล้ชิดทั้งในเชิงกายภาพ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความรับผิดชอบในอำนาจหน้าที่ที่ อปท. ได้รับมอบหมายและส่งผลต่อ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การ
พิจารณาลงคะแนนเสียงให้กับผู้บริหาร อปท. ก็อาศัยปัจจัยเชิงศักยภาพ ความสามารถ และ
เครือข่ายของผู้สมัครมากขึ้นในการดึงทรัพยากรมาสู่พื้นที่ “....เนื่องจากงบประมาณเกือบ 40%
ของ อปท. มาจากการอุดหนุนของรัฐส่วนกลางโดยตรง ในขณะที่เกณฑ์การจัดสรรงบอุดหนุน
หลายประเภทให้แก่ อปท. แต่ละแห่งนั้น เปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในส่วนกลางใช้ดุลพินิจได้กว้าง
ขวางทำให้ อปท.ต้อง “วิ่งงบ” กับส่วนกลางเพื่อให้ได้รับการจัดสรรมากที่สุดจึงกล่าวได้ว่าชาวบ้าน
ใช้เครื่องมือการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในการต่อรองเพื่อดึงทรัพยากรจากรัฐส่วนกลาง” 14
เช่นเดียวกับงานของนักมานุษยวิทยาอย่างแคเธอรีน เบาว์วี (2555) ที่ศึกษาเรื่องการ
ซื้อเสียงในการเลือกตั้งทางภาคเหนือของไทย พบว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมายที่เกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยและกระแสการปฏิรูปการเมืองตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมาได้ลดความสำคัญ
ของการซื้อเสียงในระดับหมู่บ้านและแก้ไขอุปสรรคที่ขัดขวางประชาชนในหมู่บ้านไม่ให้สามารถ
ดูกรณีความกระตือรือร้นของประชาชนต่อการตรวจสอบการเลือกตั้งระหว่างเทศบาลนครอุบลราชธานีและ
12
เทศบาลเมืองปัตตานีใน พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). เรื่องเดียวกัน, น. 151-152
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัย
อภิชาต สถิตนิรามัย ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัครพันธุ์. (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย.
13
เชียงใหม่, น. 132.
เรื่องเดียวกัน, น. 105.
14