Page 567 - kpi17073
P. 567
566 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ส่วน Tenue (1995) มองการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่สถาบันที่เป็นประชาธิปไตยนั้นการ
ปรับเปลี่ยนที่สำคัญต่อโครงสร้างที่เป็นทางการของระบบการเมืองท้องถิ่นไปสู่ประชาธิปไตยภายใต้
การปกครองของรัฐชาติขึ้นอยู่กับการสร้างความเป็นอิสระของการเมืองท้องถิ่น (local political
autonomies) การมีส่วนร่วม (Participatory) และสถาบันที่เป็นตัวแทน (Representative
Institution) ที่มีการรับผิดรับชอบต่อประชาชน โดย Tenue ยังเห็นว่าประชาธิปไตยในท้องถิ่น
จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยใน 3 ด้านคือ
1) การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและการแบ่งแยกอำนาจ (Locally elected officials
and separation of powers) ที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญของประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ท้องถิ่น เนื่องจากพลังทางการเมืองของท้องถิ่นสามารถแสดงออกผ่านสถาบันได้อย่าง
เป็นอิสระจากอำนาจหน้าที่ที่อยู่เหนือกว่า (Higher-level authorities) และกลุ่ม
ผลประโยชน์ทางการเมืองสามารถแสดงออกทั้งในเชิงการก่อร่างของนโยบาย (Policy
Formation) และการนำนโยบายที่ตัวเองก่อร่างไปปฏิบัติ (Implementation) ในขณะที่
การแบ่งแยกอำนาจจะอนุญาตให้มีช่องทางสำหรับการทำให้กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
สามารถรวมกลุ่มหรือสร้างความเห็นพ้องต้องกันได้ (Bringing Together) ทั้งฝ่าย
บริหารและนิติบัญญัติที่ต้องการรักษาและสร้างความต่อเนื่องในฐานทางการเมือง
ท้องถิ่นของพวกเขา
2) ความเป็นอิสระของท้องถิ่น (Local Autonomy) ก็เป็นเกณฑ์สำคัญของ
ประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับคำถามสำคัญว่าอะไรที่ทำให้การปกครองท้องถิ่นสามารถ
กระทำการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระจากอำนาจหน้าที่ที่อยู่สูงกว่าได้อย่างไร ? ในประเทศ
ประชาธิปไตยที่มีท้องถิ่นย่อมเกิดความขัดแย้งระหว่างศูนย์กลางและท้องถิ่น ซึ่งใน
หลายประเทศก็มีการปกครองท้องถิ่นที่สามารถเลือกรูปแบบการจัดการปกครองของ
ตนเองได้ แต่ต่างจากในหลายประเทศอำนาจของท้องถิ่นกลับถูกกำหนดโดยศูนย์กลาง
โดยประเทศส่วนใหญ่ในโลกมักไม่ค่อยจะอนุญาตให้ท้องถิ่นมีอิสระในการเลือกรูปแบบ
การจัดการปกครองของตนเอง (Local governance) นอกจากนี้มิติของความเป็นอิสระ
ของท้องถิ่นยังหมายถึงสิทธิและศักยภาพของประชาชนหรือกลุ่มที่จะก่อตั้งการปกครอง
ท้องถิ่นที่ใหม่และแตกต่างได้อีกด้วย
3) ศักยภาพในการสร้างทรัพยากร (Capacity to generate resource) ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
ว่าการจัดการปกครองและการเมืองที่สำคัญอย่างเป็นประชาธิปไตยว่าอำนาจหน้าที่ของ
ท้องถิ่นในด้านภาษีและการจัดเก็บรายได้ เนื่องจากนิยามการปกครองและการเมืองย่อง
สัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรนั่นเอง 7
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 Academy of Political and Social Science, Vol. 540, LocalGovernance around the World (Jul., 1995), 11-
Teune, Henry, “Local government and democratic political development,” Annals of the American
7
23, p. 20-25.