Page 565 - kpi17073
P. 565

564     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ความสำคัญกับแนวคิดที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย (Democracy) และชุมชน (Community) และ
                  บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในการสร้างประชาธิปไตยและความ

                  เข้มแข็งของชุมชนที่เป็นประชาธิปไตยขึ้นในท้องถิ่นที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้าง
                  และสถาบันทั้งที่เป็นทางการ (Formal Sector) และไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ในพื้นที่


                       ส่วนที่สอง คือการศึกษาสภาพการณ์และผลดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องต่อการ
                  พัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งในด้านความสำเร็จ ปัญหา และ

                  ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจริงภายหลังการกระจายอำนาจให้แก่การปกครองท้องถิ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2540
                  เป็นต้นมา


                       ส่วนที่สาม คือการสังเคราะห์ข้อเสนอและนำเสนอแนวทางส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน
                  ท้องถิ่นต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของชุมชนที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งครอบคลุม

                  ทั้งในมิติที่เป็นประชาธิปไตยและมิติด้านชุมชน ทั้งการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างและสถาบัน
                  ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ


                  1   กร บ น     นการ   ั

                       ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้อาศัยกรอบแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local
                  Democracy) และแนวคิดเกี่ยวกับชุมชน (Community) โดยมองว่าประชาธิปไตยเป็น

                  เครื่องมือและเงื่อนไขที่สำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นภายในท้องถิ่น และประชาธิปไตย
                  เป็นยังเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ชุมชนนั้นมีความ

                  เป็นประชาธิปไตย โดยประชาธิปไตยจะเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
                  และสถาบันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการให้เป็นประชาธิปไตยขึ้นในพื้นที่ ซึ่งการสร้าง
                  ประชาธิปไตยขึ้นในท้องถิ่นนี้เองจะช่วยเป็นรากฐานของประชาธิปไตยในมหภาค


                  1       การ  ก า

                       งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์ข้อเสนอการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นเพื่อการ

                  ปฏิรูปโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น: การปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น
                  และความเข้มแข็งชุมชน ใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่มี

                  วิธีการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นขั้นตอนดังนี้

                       1.5.1   การเก็บรวบรวมข้อมูล


                          โดยในงานวิจัยชิ้นนี้อาศัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลของการศึกษาผู้วิจัยมุ่งเน้นการ

                  เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสังเคราะห์จากเอกสาร (Documentary research) ทั้งเอกสารและ
                  ข้อมูลในชั้นปฐมภูมิ (Primary source) และชั้นทุติยภูมิ (Secondary source) ที่มีความ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   เกี่ยวข้องกับแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความ


                  เข้มแข็งของชุมชนทั้งของไทยและต่างประเทศ ผลดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องต่อ
                  การพัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กับสภาพปัญหาและข้อจำกัด

                  ในการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรปกครองส่วนท้องต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้าง
   560   561   562   563   564   565   566   567   568   569   570