Page 563 - kpi17073
P. 563

562     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ครอบงำการบริหารงานภาครัฐและกระบวนการนิติบัญญัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตยช่วงก่อน
                  พ.ศ.2540 ทำให้แนวโน้มการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นไม่ถูกให้ความ

                  สำคัญมากนัก แม้ว่าในช่วงการบริหารของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็มักให้ความสำคัญกับการ
                  พัฒนาประชาธิปไตยแบบตัวแทนในระดับชาติผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า


                       จากการตรารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสองมิติคือ
                  1) การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระทั้งในแง่การบริหารงานและความเป็นอิสระด้าน

                  อำนาจทางการเมืองที่ท้องถิ่นจะมีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง และ
                  2) การกระจายอำนาจทางการเมืองและการสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน ชุมชน และ
                  ภาคประชาสังคมในท้องถิ่นที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีความมุ่งหวังให้

                  การปกครองท้องถิ่นมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน


                       จากการเปลี่ยนแปลงนี้เองจึงส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงาน
                  ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านกลไกที่เป็นทางการต่างๆ
                  โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง และได้สร้างและ

                  ส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองและการรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้หรือตอบสนองกับการแก้ไขปัญหาที่เกิด
                  ขึ้นภายในชุมชนต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มของคนในชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์

                  วัฒนธรรมกับวิถีชีวิต เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีความเห็นที่หลากหลาย
                  ว่าได้ส่งผลต่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชนหรือไม่


                       ซึ่งงานศึกษาบางส่วนเห็นว่าการเสริมสร้างประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของชุมชนยังมี
                  ข้อจำกัดทั้งในเชิงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและข้อจำกัดในเชิง

                  กฎระเบียบ เช่น งานวิจัยบางชิ้นยังเห็นว่าการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาด
                  ความเป็นประชาธิปไตยเนื่องจากการทำงานของพวกเขายังมีวัฒนธรรมแบบราชการและเน้นให้
                  ประชาชนเชื่อฟังหรือปฏิบัติตามมากกว่าที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วม ฝ่ายการเมืองภายในท้องถิ่น

                                                                                 1
                  ที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังไม่เป็นผู้แทนของประชาชนได้อย่างแท้จริง  หรือเห็นว่าการมีส่วนร่วม
                  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเสริมสร้างประชาธิปไตยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นอกเหนือ

                  จากการเลือกตั้งยังมีข้อจำกัดอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เกื้อหนุน
                  ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเช่น ความยุ่งยากในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น การถอดถอน
                  สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการจัดทำประชามติในท้องถิ่น ที่มีความยุ่งยากและ

                                                                                        2
                  เป็นการเพิ่มภาระกับต้นทุนในการดำเนินการเพื่อใช้สิทธิดังกล่าวแก่ประชาชน  เป็นต้น


                     1   ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์. (2550).ขบวนการประชาสังคมกับการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน.
                  วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ.
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น. 125. และอภิชาต

                     2
                        นครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะ. (2552).รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจใน
                  สถิตนิรามัย. (2554). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. ใน คณะเศรษฐศาสตร์
                  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2554 “ได้เวลาปฏิรูป เพื่อเศรษฐกิจที่เป็นธรรม”
                  (น.138-243). กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
   558   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568