Page 559 - kpi17073
P. 559
558 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
อย่างมีนัยสำคัญ ค) มีตัวอย่างกรณีศึกษาคลังของกรุงเทพมหานคร ที่น่าสนใจและอาจจะเป็น
ตัวอย่างการจัดสรรเพื่อความเสมอภาค กล่าวคือ ถึงแม้ว่ามีความเหลื่อมล้ำในการจัดเก็บรายได้
ของสำนักงานเขต (50 เขต) อย่างมาก โดยที่มีการกระจุกตัวของรายได้ในบางเขต (บางรัก และ
ปทุมวัน) แต่เมื่อพิจารณาด้านรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่าง 50 สำนักงานเขตพบว่า มีความ
แตกต่างแต่น้อย ซึ่งสะท้อนว่า กทม. มีวิธีการจัดสรรการคลังโดยคำนึงถึงหลักความเสมอภาค
ทำให้มาตรฐานบริการสาธารณะไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก
ข้อเสนอแนะ การขยายฐานรายได้ท้องถิ่นและการลดความเหลื่อมล้ำด้านการคลัง ในระยะ
ปานกลาง คือ การปฏิรูปภาษี ด้วยมาตรการต่อไปนี้ หนึ่ง เร่งรัดการออกกฎหมายรายได้ท้องถิ่น
ซึ่งมีสาระสำคัญคือการปฏิรูป“ภาษีแบ่ง” หรือ “ภาษีฐานร่วม” จากเดิมที่เคยจัดสรรให้ อปท.
น้อย (เช่น กฎหมายภาษีสุรา ยาสูบ และภาษีสรรพสามิต ให้ท้องถิ่นจัดเก็บเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ
10 สืบเนื่องจากกฎหมายในยุคสมัยรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง อปท. มีบทบาทน้อย) เสนอให้
เป็นการจัดสรรใหม่ อิงหลัก 70:30 หมายถึง คือ ร้อยละ 70 เป็นรายได้ส่วนกลาง ร้อยละ 30
เป็นรายได้ท้องถิ่น จะช่วยให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพิงเงินอุดหนุน ดังนั้น อปท. จะมี
อิสระในการบริหารการคลังเพิ่มขึ้น (local fiscal autonomy) สอง การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน
ซึ่งอาจจะใช้ร่าง พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการ
คลัง สาม จัดเก็บภาษีกองมรดกและของขวัญ สี่ กันเงินรายได้ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก
ส่วนหนึ่ง จัดตั้งกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
กำหนดหลักการจัดสรรเงินเพื่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย (ยากจน เช่น เด็กยากจน ผู้ด้อยโอกาส
คนชราที่ขาดแคลน)
มาตรการระยะสั้น คือปฏิรูปเงินอุดหนุนเพื่อความเสมอภาค โดยเสนอทางเลือก 3 สูตร
เพื่อปิดช่องว่างทางการคลัง พร้อมเหตุผลและการอภิปรายข้อดีและข้อด้อยของแต่ละทางเลือก
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6