Page 555 - kpi17073
P. 555
554 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การ ั ก นเพ ล า เ ล ล ละก น า ประ าสั
รายได้ที่เกิดจากภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดกและของขวัญ อาจจะจัดสรรดังต่อไปนี้
๏ ส่วนแรก 50% ให้เป็นรายได้ของท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ดิน และแหล่งรายได้ภาษี
หรือค่าธรรมเนียม (หมายเหตุ ตัวเลข 50% เป็นเพียงการคาดการณ์ขั้นต้น อาจจะ
ปรับเปลี่ยนได้)
๏ ส่วนที่สอง 25% เป็นกองทุนสำหรับการจัดสรรเพื่อความเสมอภาค เนื่องจากทรัพย์สิน
และการโอนที่ดินในตัวเองมีความเหลื่อมล้ำสูง (มิติพื้นที่)
๏ ส่วนที่สาม 25% เป็นกองทุนที่จัดสรรเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเสนอรับ
เงินทุนไปทำกิจกรรมการพัฒนา (เช่น การช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาส)
า รการระ ะสั น
การลดความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น สามารถดำเนินการโดยปฏิรูปเงินอุดหนุนตามหลัก
ความเสมอภาคในช่วงเวลา 2-3 ปี ดังวิเคราะห์ในตอนต้นว่า การจัดสรรเงินอุดหนุนที่ผ่านมามิได้
ลดความเหลื่อมล้ำทางการคลัง จึงเสนอทางเลือก 3 แนวทาง ดังต่อไปนี้
หนึ่ง ลดสัดส่วนของเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ นำมาเพิ่มให้เงินอุดหนุนทั่วไป ทั้งนี้มีเหตุผลดังนี้
ก) เงินอุดหนุนทั่วไป ทำให้ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารเงิน (local autonomy) เนื่องจาก
อปท. จะรับทราบข้อมูลล่วงหน้า นำมาวางแผนจัดสรรงบประมาณประจำปี (เดือน
สิงหาคม) ทำให้การเบิกจ่ายและการทำกิจกรรมเป็นไปตามแผนและรวดเร็ว (เปรียบเทียบ
กับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจมีซึ่งมีความล่าช้าหลายเดือนในช่วงพิจารณาอนุมัติโครงการ)
ข) ในกรณีที่มีความล่าช้าการเบิกจ่ายในส่วนเงินอุดหนุน อปท. มีอิสระที่จะเก็บเงิน
ไปจัดสรรดำเนินการในปีงบประมาณถัดไป
ค) เงินอุดหนุนทั่วไป สามารถกำหนดเป็นสูตรรายหัว หรือจัดสรรในลักษณะผกผัน
(กับตัวแปรรายได้) โดยคำนึงถึงหลักความเสมอภาค
สูตรที่หนึ่ง
กำหนดเงินอุดหนุนต่อหัว (เทศบาล และ อบต.) ในอัตราเท่ากัน (หมายเหตุ หมายถึง
รวมเงินอุดหนุนของเทศบาล และ อบต. หารด้วยจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่)
๏ หลักความคิด คือ รัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนให้ประชากรทุกคน (ทุกภูมิภาค เมืองหรือ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ๏ สูตรการจัดสรรนี้ สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง (ค่าสัมประสิทธิ์จินี ลดลง)
ชนบท) อย่างเท่าเทียมกัน
๏ ภาระทางการคลังของรัฐบาลเท่าเดิม