Page 550 - kpi17073
P. 550
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 549
กร ก าการ ลั ส นัก านเ กร เ พ าน ร
ผลงานวิจัยของ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และพิชิต รัชตพิบุลภพ (2556) วิเคราะห์สถานะ
การคลังของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (50 เขต) พบว่ามีความเหลื่อมล้ำของการจัดเก็บ
รายได้ของแต่ละสำนักงานเขต (หมายเหตุ เขตที่จัดเก็บรายได้สูงคือ บางรัก และปทุมวัน อันเป็น
ศูนย์กลางการพาณิชย์ การบริการและการท่องเที่ยว) แต่เมื่อวิเคราะห์ด้านรายจ่าย พบว่าความ
เหลื่อมล้ำน้อยมาก เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจซึ่ง สะท้อนว่า กทม. มีวิธีการบริหารรายได้และ
รายจ่าย โดยคำนึงถึงความเท่าเทียม เงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แต่ละสำนักงานเขตคำนึงถึงหลัก
ความเสมอภาค
ในรายงานวิจัยเดียวกันนี้ได้เสนอการวิเคราะห์นโยบายสมมติ (policy simulation) โดย
สมมติว่า กทม. จัดเก็บภาษีทรัพย์สิน (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ในปี 2552 หมายถึง การ
จัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดิน บ้านและอาคารพาณิชย์ แทนการจัดเก็บภาษีจากค่ารายปี (โดยที่บ้าน
อยู่อาศัยได้รับการยกเว้น) พบว่า รายได้ของสำนักงานเขตเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ในขณะที่ความ
เหลื่อมล้ำการคลังระหว่าง 50 สำนักงานเขตลดลง สาเหตุคือทุกสำนักงานเขตสามารถจัดเก็บ
ภาษีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากบ้านอยู่อาศัย แตกต่างจากสภาพปัจจุบันที่จัดเก็บภาษีที่ดินและโรงเรือน
จากโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ซึ่งมีอัตรากระจุกตัวในบางเขต เช่น บางรัก และปทุมวัน
ข้อเสนอการปฏิรูป
P 1: การ า า านร
รายได้ส่วนสำคัญของ อปท. มาจาก “ภาษีแบ่ง” หรือ “ภาษีฐานร่วม” หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีสรรพสามิต ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ค่าภาคหลวง แต่การแบ่งภาษีที่ระบุในกฎหมาย ไม่เหมาะสม
กับสภาพปัจจุบัน (หมายเหตุ กฏหมายภาษีที่อ้างถึงตราเป็นกฎหมายก่อนปี 2540 อันเป็นยุค
การบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ ในขณะที่มีข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปภาษีให้เหมาะสมกับยุคสมัย
(การกระจายอำนาจ) พร้อมกับข้อเสนอการแบ่งรายได้ในสัดส่วน 70: 30 หมายถึง รัฐบาลได้รับ
ส่วนแบ่ง 70% ในขณะที่ อปท. ได้รับส่วนแบ่ง 30% แนวคิดเช่นนี้ปรากฎในร่าง พรบ. กฎหมาย
รายได้ท้องถิ่น พ.ศ.... อันเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่มีความล่าช้าใน
กระบวนการนิติบัญญัติ จึงเป็นการสมควรเร่งรัดการออกพระราชบัญญัติฉบับนี้
P : การ ั สรรเ น น นเพ า เส า
แนวทางแรก คือลดอคติของการอุดหนุน คือ เงินอุดหนุน (ต่อหัว) ของประชาชนในชนบท
ควรจะเท่ากับเงินอุดหนุน (ต่อหัว) ที่จัดสรรให้คนเมือง
แนวทางที่สอง คือ การจัดสรรเงินอุดหนุนในลักษณะผกผัน หมายถึง อปท. ที่มีความ
สามารถจัดเก็บต่ำ (เพราะฐานภาษีน้อย) ควรได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุน (ต่อหัว) สูงกว่า
อปท. ที่มีความสามารถจัดเก็บรายได้ของตนเองและภาษีแบ่ง สูง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6