Page 547 - kpi17073
P. 547

546     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ข้อสังเกตที่รูปภาพ หากมีกระบวนการไล่กวดทางเศรษฐกิจ (catching-up hypothesis)
                  อัตราการเติบโตของกลุ่มจังหวัดยากจน น่าจะสูงกว่ากลุ่มจังหวัดรวย แต่หลักฐานที่ประจักษ์คือ

                  กลุ่มจังหวัดรวยกลับมีอัตราการเติบโตเร็วกว่า ซึ่งหมายถึง ความเหลื่อมล้ำมิติพื้นที่ (จังหวัด
                  วัดโดย GPP per capita) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าห่วงใยและเป็นภารกิจอัน
                  หนักหน่วงของภาครัฐในการ “ต้านทานแนวโน้มความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น”


                       นัยต่อการคลังท้องถิ่น การที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกระจุกตัวในบางพื้นที่ หมายถึง

                  อัตราการกระจุกตัวของการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล (ซึ่งเป็นภาษีแบ่งของ อปท.)


                  ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น ข้อสังเกตจากการวิจัย



                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ประกอบด้วยสี่รูปแบบ คือ อบจ. เทศบาล อบต. และ

                  อปท. รูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ กำหนด
                  ภารกิจการจัดบริการสาธารณะ ระเบียบการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นภายใต้การถ่วงดุลระหว่าง
                  ฝ่ายบริหารและสภาท้องถิ่น งบประมาณท้องถิ่นเป็นเครื่องมือการทำงานที่มีความสำคัญยิ่ง

                  จำแนกออกเป็นด้านต่างๆ คือ การประมาณการและบริหารงบประมาณรายรับ การจัดสรรงบ
                  ประมาณรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป อปท. จัดทำงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งสะท้อน

                  ถึงวินัยการคลัง และดำรงเงินสะสมอย่างน้อยจำนวนหนึ่ง เพื่อความไม่ประมาทเพื่อรองรับ
                  เหตุฉุกเฉินหรือความผันผวนของรายได้/รายจ่าย อาจจะสรุปได้ว่าการบริหารงบประมาณท้องถิ่น
                  ใช้หลัก “รายได้นำรายจ่าย” การบริหารงานของ อปท. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของราชการ

                  ส่วนกลาง คือระเบียบที่กำหนดโดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบด้าน
                  รายจ่ายและบัญชีโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง


                       ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น จำแนกออกเป็นสองมิติ หนึ่ง ความไม่สมดุลแนวตั้ง

                  (vertical fiscal imbalance) คือความเหมาะสมระหว่างภารกิจกับรายได้ ปัญหาที่สะท้อนจาก
                  ท้องถิ่นบ่อยครั้งคือ ได้รับภารกิจมาก แต่รายได้ไม่ตามมาหรือน้อยกว่าภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน
                  (unfunded mandates) และข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายรายได้ท้องถิ่น (ตามกฎหมาย

                  รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550) สอง ความไม่สมดุลตามแนวนอน (horizontal fiscal imbalance)
                  หมายถึง อบต. ในสภาพใกล้เคียงกัน (พื้นที่ และประชากร) แต่ว่ารายได้แตกต่างกันมาก

                  อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น การกระจุกตัวของความเจริญในบางจังหวัด/ภูมิภาค
                  อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สมดุลทางการคลัง เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ โดยการออกแบบเงินอุดหนุน
                  เพื่อความเสมอภาค โดยการติดตามของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นหรือการวิจัย

                  ประเมินผลโดยสถาบันวิชาการ

        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   เศรษฐกิจในบางจังหวัด/ภูมิภาค เช่น อุตสาหกรรมและศูนย์การพาณิชย์ในกรุงเทพและปริมณฑล
                    า เ ล    ล      พ  น

                       ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ท้องถิ่น มีสาเหตุส่วนสำคัญจากการกระจุกตัวทาง



                  และภาคตะวันออก ผลงานของดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และ ดารุณี พุ่มแก้ว (2557) ใช้ข้อมูลสถิติ
   542   543   544   545   546   547   548   549   550   551   552