Page 552 - kpi17073
P. 552
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 551
การ เ ราะ ้ ้ ลเ ประ ัก กร ก า า รัพ ส น ro erty ta
แหล่งข้อมูล สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2556 หรือเรียกย่อว่า SES2556) จัดทำ
การสำรวจครัวเรือนเป็นประจำ (ปีเว้นปี) โดยการสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ (จำนวนตัวอย่างมากกว่า
4 หมื่นตัวอย่าง) จากทุกจังหวัดทั้งในเมืองและชนบท ครอบคลุมมิติต่างคือลักษณะของครัวเรือน
การมีรายได้ การทำงาน การใช้จ่าย การออม การถือครองทรัพย์สินและหนี้สิน
ทรัพย์สินครัวเรือน (household assets) จำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
๏ ที่ดินและบ้าน ซึ่งใช้เป็นที่พำนัก เรียกย่อว่า A1
๏ อาคารพาณิชย์ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์และเป็นที่อยู่อาศัย A2
๏ ยานพาหนะ A3
๏ เงินและสินทรัพย์ทางการเงิน A4
ตารางที่ 7 ทรัพย์สินครัวเรือน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติ พ.ศ. 2556
ชั้นทรัพย์สิน บ้านและที่ดิน อาคารพาณิชย์ ยานพาหนะ ตราสารการเงิน ทรัพย์สินรวม
บาท พันบาท
1 จนที่สุด 8,989 23 13,837 11,533 34.4
2 82,824 365 35,277 28,942 147.4
3 207,032 1,410 65,279 39,101 312.8
4 300,502 1,762 102,251 48,991 453.5
5 375,414 2,441 154,370 64,020 596.2
6 441,875 4,027 188,726 75,466 710.1
7 558,085 5,729 251,449 104,528 919.8
8 694,167 9,498 303,357 141,598 1,148.60
9 984,799 16,935 404,759 229,726 1,636.20
10 รวยที่สุด 2,190,766 113,611 670,497 802,971 3,777.80
ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ SES2556
ตารางที่ 8 แสดงการกระจุกตัวของทรัพย์สิน พร้อมกับข้อสังเกตว่า ครัวเรือนรวย 10%
ถือครองทรัพย์สิน 49.3% เปรียบเทียบกับครัวเรือนระดับล่าง 30% แต่มีทรัพย์สินรวมกันเพียง
3.3% สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่สูงมาก
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6