Page 556 - kpi17073
P. 556
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 555
ข้อโต้แย้งหรือจุดอ่อน
๏ เทศบาล และ อบต. จำนวนหนึ่ง ที่เคยได้รับเงินอุดหนุนต่อหัวสูง (สูงกว่าค่าเฉลี่ย)
จะได้รับเงินอุดหนุนลดลง
สูตรที่สอง
การอิงหลักความคิด “เส้นยากจนของ อปท.” หมายถึง รายได้ขั้นต่ำสำหรับ อปท. ในการ
จัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หลักคิดนี้คล้ายคลึงกับ “เส้นความยากจน”
ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อีกนัยหนึ่งรัฐบาลจำเป็นต้อง
สร้างหลักประกันว่า ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับบริการสาธารณะขั้นต่ำ อย่างเท่าเทียมกัน
พร้อมกันนี้ขอเสนอตัวเลขนำร่อง (หรือเป็น “ตุ๊กตา”) คือ 4,500 บาทต่อหัว
5
ข้อดี
๏ เป็นมาตรการ “ปิดช่องว่าง” (fiscal gap) อปท. ซึ่งหลายประเทศนำมาประยุกต์ใช้
เทศบาล และ อบต. ที่เคยได้รับน้อยกว่า 4,500 บาทต่อหัว จำนวน 2,114 แห่ง
(เป็น อบต. 1,806 แห่ง และเทศบาลตำบล 308 แห่ง)
๏ เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่ ที่เคยมีรายได้ต่อหัวเกินกว่า 4,500 บาท ไม่ได้รับ
ผลกระทบแต่ประการใด
๏ สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังได้ระดับหนึ่ง
5 ตัวเลข 4,500 บาทต่อหัว อิงการวิเคราะห์ตัวเลขตามสภาพเป็นจริง (ปีงบประมาณ 2555) โดยดูลักษณะ
การกระจายของตัวแปรชื่อ caprtot (total revenue per capita) พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,882 บาทต่อหัว
ค่ามัธยฐานเท่ากับ 5,066 บาทต่อหัว ตัวเลขที่เสนอ 4,500 บาทต่อหัว หมายถึงกลุ่มที่รายได้น้อย (ใกล้เคียงกับ
p25 อีกนัยหนึ่ง 25% ของกลุ่มล่างสุด จำนวน อปท. ที่รายได้ต่อหัวน้อยกว่า 4,500 บาท มี 2,114 แห่ง น้อยกว่า
4 พันบาท 795 แห่ง และ น้อยกว่า 3 พันบาท 92 แห่ง)
เทศบาลและอบต.
ค่าสถิติ รายได้รวมต่อหัว
N= 7775 แห่ง
(บาทต่อคน)
ค่าเฉลี่ย 5,882
ค่าเปอร์เซนไทล์
p10 3,985
p25 4,455
p50 5,066
p75 6,432 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
p90 8,709