Page 548 - kpi17073
P. 548

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   547


                      การคลังระหว่างปี 2552-2555 จาก อปท.ทั่วไป โดย “ย่อส่วน” ให้เป็นรายจังหวัด หมายถึง
                      รวมรายได้ R1+R2+R3 หารด้วยจำนวนประชากรภายในจังหวัด (หมายเหตุ R1, R2 และ R3

                      หมายถึง รายได้ที่จัดเก็บเอง ภาษีแบ่ง และ เงินอุดหนุน) นำมาวิเคราะห์ความแตกต่าง และ
                      คำนวณดัชนีวัดความเหลื่อมล้ำ (Gini coefficient)


                            ผลการศึกษาโดยสรุปดังนี้


                            ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง (R1/N) เหลื่อมล้ำมากที่สุด ภายในกลุ่มเทศบาลด้วยกันเอง
                                “เทศบาลตำบล” จัดเก็บได้น้อยที่สุด และรายได้ของ อบต. ต่ำกว่าเทศบาลอย่างมี
                                นัยสำคัญ


                            ข) การเปรียบเทียบเป็นรายจังหวัด โดยพิจารณาภาพรวม (รายได้รวม 3 ประเภท ต่อ

                                ประชากร) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ


                            ค) การจัดสรรภาษีแบ่งต่อหัว (R2/N) ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่มีความเหลื่อมล้ำสูงไม่น้อย
                                เนื่องจากสถานะเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว
                                แตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่าง จังหวัดระยอง GPP per capita เกินกว่า 1 ล้านบาท

                                ต่อคน ในขณะที่จังหวัดในภาคอีสานส่วนใหญ่มี GPP per capital น้อยกว่า 5 หมื่นบาท
                                ต่อคน


                             ง) การจัดสรรเงินอุดหนุนที่มีอคติต่อคนชนบท (อบต.) กล่าวคือ อบต. ได้รับการจัดสรร
                                เงินอุดหนุนต่อหัว ต่ำกว่าเทศบาล ทำให้บริการสาธารณะของประชาชนในชนบท

                                ต่ำกว่าประชาชนในเขตเมืองอย่างชัดเจน ดูสถิติในตารางที่ 1


                             จ)  การจัดสรรเงินอุดหนุนต่อหัว (R3/N) ตามสภาพความเป็นจริง ต่างจากอุดมคติ กล่าวคือ
                                มิได้จัดสรรแบบผกผัน คือ อปท. ที่มีน้อย—ได้รับเงินอุดหนุนต่อหัวมาก และ อปท.
                                ที่มีมาก—ได้รับเงินอุดหนุนลดหลั่นกันไป ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขอย่าง

                                เร่งด่วน โดยอาจจะศึกษากรณีตัวอย่างในบางประเทศ (เช่น ญี่ปุ่น รัสเซีย และประเทศ
                                ในกลุ่มโออีซีดี)


                      ตารางที่ 5 รายได้ของ อปท. เปรียบเทียบตามประเภทและแหล่งรายได้ พ.ศ. 2555


                                               จำนวน        รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บ   ภาษีแบ่ง    เงินอุดหนุน
                             ประเภท
                                                 แห่ง                       หน่วย บาทต่อคน

                       อบต.                     5,509                220                2,237         2,794

                       เทศบาลนคร                  31                1,646               3,725         3,994
                       เทศบาลเมือง               165                1,179               3,674         4,417

                       เทศบาลตำบล               2,070                481                3,149         3,608              การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6

                      ที่มา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
   543   544   545   546   547   548   549   550   551   552   553