Page 562 - kpi17073
P. 562
การสังเคราะห์ข้อเสนอการกระจายอำนาจ
และการปกครองท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปโครงสร้าง
การปกครองท้องถิ่น:
การปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้างประชาธิปไตย
ท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน*
รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย**
1. บทนำ
1 1 า ละ า ส ั ป า
นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจและการก่อตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิรูปสถาบันทางการเมืองและระบบราชการตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 นอกจากจะได้
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของภาครัฐไทยจากเดิมที่เป็นโครงสร้าง
ที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการ
รวมศูนย์อำนาจทางการเมืองไว้ที่ส่วนกลางผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติในการตรากฎหมายสำคัญ และการจัดตั้ง
คณะรัฐมนตรีที่เป็นฝ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดและควบคุมนโยบายของการ
บริหารงานภาครัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หรือการควบคุมและครอบงำ
อำนาจการบริหารและนิติบัญญัติผ่านระบบการเมืองที่รวมศูนย์และไม่เป็น
ประชาธิปไตยโดยระบบราชการทหารและพลเรือน ในขณะที่ภาคส่วนต่างๆ ที่
อยู่นอกภาครัฐมีบทบาทจำกัดในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริหาร
งานภาครัฐและจัดสรร/ต่อรองอำนาจทางการเมือง ซึ่งสภาพการรวมศูนย์อำนาจ
ทางการบริหารและทางการเมืองเข้าสู่ส่วนกลางทั้งจากรัฐบาลที่มาจากการ
เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหรือจากรัฐราชการทหารและพลเรือนที่
* ใช้สำหรับประกอบการสัมมนา ห้ามอ้างอิง
** รองเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า