Page 564 - kpi17073
P. 564

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   563


                            อย่างไรก็ตามงานศึกษาบางชิ้นกลับชี้ให้เห็นว่าการกระจายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ได้ส่ง
                      ผลดีต่อการเสริมร้างประชาธิปไตยและเพิ่มการต่อรองของชุมชนเพราะการกระจายอำนาจทำให้

                      เกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ทำให้การบริหารงานของท้องถิ่นกับ
                      ผู้เลือกตั้งมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นและการบริหารงานของผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งของ
                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ประชาชน

                      ที่มีสิทธิออกเสียงได้อาศัยปัจจัยเชิงศักยภาพ ความสามารถ และเครือข่ายของในการดึงทรัพยากร
                      มาสู่พื้นที่เป็นปัจจัยเพื่อพิจารณาลงคะแนนเสียงให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                                                               3
                      เป็นต้น

                            ดังนั้นเพื่อให้การปกครองท้องถิ่นมีส่วนช่วยและสร้างความชัดเจนในการเสริมสร้าง

                      ประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชนนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงสภาพการณ์และ
                      ผลดำเนินงานของการปกครองท้องถิ่นภายหลังการกระจายอำนาจได้ส่งผลต่อประชาธิปไตย

                      ท้องถิ่นและความเข้มแข็งของชุมชนในลักษณะใด มีความหลายหลายและแตกต่างกันในแต่ละ
                      พื้นที่อย่างไร รวมถึงมีสภาพปัญหาหรือข้อจำกัดใดบ้างที่ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น
                      และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนยังไม่บรรลุตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ

                      โดยการศึกษาในครั้งนี้จะควบคู่ไปกับการศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับ
                      การพัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้งในทางทฤษฎีและกรณีศึกษา

                      ที่เกิดขึ้นจริงทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยนำผลการศึกษาที่ได้มาสังเคราะห์ข้อเสนอและนำ
                      เสนอแนวทางส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและความเข้มแข็ง
                      ของชุมชนในอนาคต


                      1    ั ถ ประส       าน   ั

                             1. เพื่อศึกษาและทบทวนแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยและ

                                เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้งของไทยและต่างประเทศ


                             2. เพื่อศึกษาสภาพการณ์และผลดำเนินงานทั้งความสำเร็จ ปัญหาและข้อจำกัดขององค์กร
                                ปกครองส่วนท้องต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน


                             3. สังเคราะห์ข้อเสนอและนำเสนอแนวทางส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการ
                                พัฒนาประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของชุมชน


                      1     บเ      าน   ั

                            งานวิจัยชิ้นนี้ได้กำหนดขอบเขตการวิจัยออกเป็น 3 ส่วนดังนี้


                            ส่วนที่หนึ่ง คือการทบทวนแนวคิดและประสบการณ์ทั้งในเชิงทฤษฎีและกรณีศึกษาของการ

                      พัฒนาประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยให้

                          3   อภิชาต สถิตนิรามัย ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัครพันธุ์. (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย.   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัย
                      เชียงใหม่, น. 105.
   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568   569