Page 569 - kpi17073
P. 569
568 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
3. ประเด็นและกรณีศึกษาของการปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้าง
ประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน: กลไกที่เป็นทางการ
ของรัฐ
โดยในส่วนนี้ผู้วิจัยได้เสนอพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประชาธิปไตย
ท้องถิ่น จากการเปลี่ยนแปลงในกลไกที่เป็นทางการของรัฐในสี่ด้านคือ 1) การเลือกตั้งท้องถิ่น
2) การถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 3) การเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น และ
4) การลงประชามติ (Referendum) 9
1 การเล ก ั ้ ถ น
การเลือกตั้งเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนขั้นพื้นฐานที่สุดของท้องถิ่น โดยการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในรูปแบบประชาธิปไตย
ตัวแทนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้สิทธิหน้าที่ของการปกครองตนเองในการเลือก
บุคคลหรือคณะบุคคลมาเป็นผู้บริหารของท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 285 กำหนดให้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาท้องถิ่นและคณะ
ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง คณะผู้บริหาร
ท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น”
และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 284 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาท้องถิ่น
และคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง
คณะผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของ
สภาท้องถิ่น ทำให้การปกครองท้องถิ่นไทยต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รวมถึงมีการตราพระราชบัญญัติการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร พ.ศ. 2545 เพื่อใช้บังคับถึงรูปแบบและวิธีการเลือกตั้ง
ในท้องถิ่นและรองรับความในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ
เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของการปกครองท้องถิ่นท้องถิ่นไทยทั้งหมดจะอยู่รูปของสภา-ฝ่าย
บริหาร (Council-Executive) โดยฝ่ายบริหารมีที่มาจาก
10
1) มติของสภาหรือมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม เป็นที่มาของผู้บริหารในองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไทยในช่วงแรกที่ผู้บริหารจะมาจากการเลือกของสภาท้องถิ่นโดยสมาชิกของ
สภาต้องรวบรวมเสียงสนับสนุนในสภาเพื่อเลือกสมาชิกสภาไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
ด้วยที่มาของฝ่ายสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแบบนี้จึงทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแบ่งปัน
อำนาจ (Power-Sharing) โดยที่ฝ่ายบริหารต้องแสดงความรับผิดชอบ (Accountable)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ประเทศไทย, เรื่องเดียวกัน, น. 55-56.
ต่อฝ่ายสภา แต่เป็นระบบที่มีจุดอ่อนเพราะทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอและขาดเสถียรภาพ
ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากวุฒิสาร ตันไชย. (2557). เรื่องเดียวกัน, น. 62-67.
9
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะ. (2552).รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจใน
10