Page 572 - kpi17073
P. 572

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   571


                      ประท้วงต่อต้านการกระทำที่ทุจริตและปกป้องประชาธิปไตยภายในชุมชนของพวกเขา  ซึ่งวิธีการ
                                                                                                     15
                      เล่นการเมืองของชาวบ้านในพื้นที่ที่ศึกษาพบว่าประชาชนไม่ใช่คนไร้เดียงสาทางการเมืองและขาด

                      การศึกษาแต่อย่างใดแต่กลับเป็น

                                “ผู้มีส่วนร่วมในการเมืองการเลือกตั้งอย่างเท่าทัน ชาวบ้านตำบลทุ่งนาตระหนักถึง

                                โอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การปฏิรูปกฎหมายในปี 2535 และ 2537 พวกเขา
                                ผนวกรวมทั้งกฎหมายใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย กฎหมายเก่าสมัยศักดินา

                                ขนบธรรมเนียมแบบเดิม พิธีกรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นักการเมืองภายนอก
                                เจ้าหน้าที่อำเภอ และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนให้เป็นประโยชน์แก่การรณรงค์
                                หาเสียงของพวกเขา ในกระบวนการนี้ ทัศนะประชาธิปไตยที่คาดหวังว่าผู้สมัครควร

                                ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการหาเสียงปะทะกับกฎหมายเก่าในยุคศักดินาที่สร้าง
                                ความหมายเชิงวัฒนธรรมให้ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่า เป็น “เจ้าของหมู่บ้าน” 16


                            อย่างไรก็ตามด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการรัฐประหารในวันที่ 22
                      พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 85 เรื่อง การได้มาซึ่ง

                      สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว และประกาศคณะรักษาความสงบ
                      แห่งชาติที่ 86/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการ

                      ชั่วคราว ที่กำหนดให้งดการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและให้มีการสรรหาสมาชิกสภา
                      ท้องถิ่นจากข้าราชการประจำมาทดแทนตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ว่างลงเป็นการชั่วคราว
                      ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นตามที่กำหนดในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกระงับไว้

                      ชั่วคราว


                           การถ  ถ นส า  กส า ้  ถ  น ละ  ้บร  าร ้  ถ  น

                            ในปัจจุบันพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น
                      พ.ศ. 2542 ได้ให้สิทธิประชาชนสามารถเข้าชื่อยื่นคำร้องเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและ

                      ผู้บริหารท้องถิ่น โดยประชาชนสามารถเข้าชื่อยื่นคำร้องในการถอดถอนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่
                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ภายใต้เขตจังหวัดนั้น ส่วนกรณีการยื่นถอดถอนสมาชิกสภาและ
                      ผู้บริหารของกรุงเทพมหานครประชาชนต้องเข้าชื่อยื่นคำร้องถอดถอนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

                      มหาดไทย โดยที่ผู้รับคำรองจะต้องทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวพร้อมทั้งแจ้งไปยังผู้ถูกร้อง
                      เรียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและขณะเดียวกันก็แจ้งไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้

                      ดำเนินกระบวนการลงคะแนนเสียงถอดถอนโดยให้ยึดถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่
                      ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่นต่อจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อดังตามตาราง  โดยการลง
                                                                                                   17

                         15   เบาว์วี, แคเธอรีน เอ. (2555). การซื้อเสียงและความเดือดดาลของหมู่บ้านในการเลือกตั้งที่ภาคเหนือของ
                      ไทย: การปฏิรูปกฎหมายในบริบททางประวัติศาสตร์ ในประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ). การเมืองว่าด้วย
                      การเลือกตั้ง: วาทกรรม อำนาจ และพลวัตรของชนบทไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, น.125.
                         16   เรื่องเดียวกัน, น.179-180.

                         17   อภิชาต สถิตนิรามัย. (2554). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน,           การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      เรื่องเดียวกัน, น. 166-167.
   567   568   569   570   571   572   573   574   575   576   577