Page 570 - kpi17073
P. 570
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 569
เนื่องจากต้องพึ่งพาเสียงข้างมากของสภาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร
2) การเลือกตั้งทางตรงจากประชาชน โดยทั้งฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารมีที่มาจากการเลือก
ตั้งของประชาชนโดยตรง จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดการแบ่งแยกอำนาจโดยเด็ดขาดและ
ทำให้ฝ่ายบริหารไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสภาท้องถิ่น เพราะมีที่มาของความชอบ
ธรรมจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
อย่างไรก็ดีจากเดิมที่มาของฝ่ายบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมาจากมติของสภา
หรือมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จึงทำให้ฝ่ายบริหารมีความอ่อนแอและขาดเสถียรภาพ ทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารและสภาอยู่บ่อยครั้ง จึงได้มีการ
ปรับปรุงที่มาของฝ่ายบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่กลาง พ.ศ. 2543 ด้วยวิธีการแยก
สภาและฝ่ายบริหารออกจากกันโดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทางตรง
จึงมีการแก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำหนดให้ฝ่ายบริหารมาจากการ
เลือกตั้งโดยตรงตั้งแต่ พ.ศ. 2546 โดยเริ่มจากการตราพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11)
พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติ
เทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ทำให้ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยทุกประเภทมีฝ่าย
บริหารและฝ่ายสภาท้องถิ่นจากการเลือกตั้งทางตรงทั้งหมด
ตั้งแต่มีการกำหนดให้ผู้บริหารของท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งทางตรงใน พ.ศ. 2546
ก็ทำให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากขึ้นและไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาเช่น มีอำนาจกำหนดนโยบายการ
บริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจจัดทำงบประมาณ อำนาจการเสนอร่าง
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี อำนาจการบริหารงานบุคคล อำนาจการยับยั้งข้อบัญญัติที่
ตราโดยสภาท้องถิ่น และอำนาจที่ไม่เป็นทางการจากลักษณะบารมีของผู้นำท้องถิ่น จึงก่อให้เกิด
ปัญหาใหม่เพราะถ้าผู้สมัครผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นอยู่กลุ่มเดียวกันได้รับเลือกเข้าไปเป็น
ผู้บริหารท้องถิ่นและสามารถมีเสียงส่วนใหญ่ในสภาท้องถิ่นสามารถครอบงำการทำงานของฝ่าย
นิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจนส่งผลต่อการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) แต่ในทาง
ตรงกันข้ามถ้าฝ่ายบริหารและสภาท้องถิ่นอยู่คนละฝ่ายก็มักเกิดความขัดแย้งต่อกันจนทั้งสองฝ่าย
ยากที่จะทำงานร่วมกัน 11
นอกจากนี้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ปัญหาของระบบอุปถัมภ์และกลุ่มผู้มีอิทธิพลของ
ท้องถิ่น ที่ทำให้การเมืองท้องถิ่นถูกผูกขาดโดยบางกลุ่มหรือตระกูล ซึ่งความรุนแรงของปัญหา
เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ถ้าประชาชนมีความเข้มแข็งเช่น ประชาชนพยายาม
รณรงค์ให้การหาเสียงเลือกตั้งในท้องถิ่นเป็นไปอย่างโปร่งใส มีการจัดเวทีให้นักการเมืองเสนอ
นโยบาย มีการร่วมตรวจสอบการทุจริตในการเลือกตั้งและมีการรายงานสถานการณ์การเลือกตั้ง
จะทำให้การเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่นถูกตรวจสอบและมีความ
ชอบธรรมมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าพื้นที่ที่ประชาชนขาดการเข้าไปมีส่วนร่วมก็มีแนวโน้ม การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
11 เรื่องเดียวกัน, น. 102.