Page 573 - kpi17073
P. 573
572 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
คะแนนถอดถอนแต่ละครั้งต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดใน
เขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีจำนวนผู้เห็นด้วยให้ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิก
สภาท้องถิ่นมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิถอดถอนทั้งหมด 18
ตาราง 1 เกณฑ์การกำหนดผู้เข้าชื่อถอดถอนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ อปท. จำนวนผู้เข้าชื่อถอดถอน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 100,000 คน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 100,001- 500,000 คน ไม่น้อยกว่า 20,000 คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 500,001-1,000,000 คน ไม่น้อยกว่า 25,000 คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 1,000,000 คน ไม่น้อยกว่า 30,000 คน
ที่มา: พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2542
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการเก็บรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการยื่นถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
และผู้บริหารท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ จึงทำให้เราไม่สามารถฉายภาพถึงความเคลื่อนไหวในการ
ถอดถอนได้อย่างครอบคลุมและส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยได้รวบรวมเองเท่านั้น ซึ่งอภิชาต
สถิตนิรามัย (2554) ได้รวบรวมข้อมูลการยื่นถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ของไทยในช่วง พ.ศ. 2546-2552 พบว่าตลอด 6 ปีนั้นมีการเสนอยื่นถอดถอนเป็นจำนวน
9 ครั้ง แต่มีการยื่นถอดถอนได้สำเร็จเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งในการเสนอถอดถอนอีก 6 ครั้งที่ไม่
ประสบความสำเร็จนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีจำนวนผู้เห็นด้วยในการถอดถอนไม่ถึง 3 ใน 4
ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 5 ครั้งส่วนอีก 1 ครั้งที่ไม่ประสบความสำเร็จมาจากการที่มีจำนวน
ผู้เข้าชื่อเพื่อเสนอถอดถอนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 19
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 เรื่องเดียวกัน, น. 168.
เรื่องเดียวกัน, น. 166-167 และ 170-171.
18
19
อภิชาต สถิตนิรามัย. (2554). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน,