Page 522 - kpi17073
P. 522
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 521
ทั่วถึงเป็นธรรมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ กระบวนทัศน์ใหม่ที่ว่านี้ยังมีส่วนที่จะนำ
ไปสู่ “สันติภาพ” และ “วิถีชีวิตที่พอเพียง” มากขึ้น (วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์, 2548, น.380-393)
ซึ่งผลการศึกษาจากงานศึกษาดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า การนำทุนทางสังคม
มาประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆย่อมจะสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ จากการที่ประชาชน
ทุกฝ่ายหันมาให้ความร่วมมือกัน เพื่อสร้างสรรค์และปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม มิใช่การ
อยู่แบบ “ตัวใครตัวมัน” และขาดความเชื่อมโยงกันเหมือนกับสังคมที่ถูกความเป็นสมัยใหม่
(Modernity) เข้ามากระทำให้บุคคลกลายเป็นปัจเจกชนที่ผิดผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก
อย่างเดียว
เมื่อนำแนวคิดทุนทางสังคมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดความเป็นพลเมืองเพื่อสร้างสรรค์
การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงแล้ว กล่าวได้ว่า ทั้งสองแนวคิดสามารถนำมาส่งเสริม
ซึ่งกันและกันได้ เพราะแนวคิดทั้งสองมุ่งที่การพัฒนาศักยภาพของบุคคลแต่ละคนให้สามารถสร้าง
ประโยชน์แก่ส่วนรวมได้ โดยแนวคิดทุนทางสังคมนั้นเป็นการมุ่งสร้างให้ประชาชนแต่ละคนรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่น และแน่นอนว่า การสร้างเครือข่าย
ที่เหนียวแน่นนี้ บุคคลแต่ละคนย่อมต้องมีการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์
ส่วนรวมด้วย และบุคคลแต่ละคนย่อมต้องรู้จักพูดและรู้จักฟังคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
จึงจะสามารถรักษาความเชื่อมโยงภายในกลุ่มไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวมา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นคุณสมบัติของพลเมืองตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นกัน ดังนั้น
จึงกล่าวได้ว่า ทุนทางสังคมเปรียบเสมือนการมองภาพในเชิงโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ประกอบไป
ด้วยหน่วยย่อยๆจำนวนมากที่เข้ามาเชื่อมโยงกัน แล้วสามารถขับเคลื่อนให้เกิดบรรยากาศแห่ง
ประชาธิปไตยขึ้นมาได้ ส่วนพลเมืองก็เป็นการมองภาพขนาดหน่วยย่อยๆ ว่าต้องมีคุณสมบัติ
อย่างไรจึงจะสามารถเกื้อกูลให้โครงสร้างขนาดใหญ่เกิดความมั่นคงได้
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุนทางสังคมจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถ
“ฝึกหัด” บุคคลในสังคมให้มีคุณสมบัติของการเป็นพลเมืองได้ โดยเมื่อสามารถสร้างเครือข่ายทุน
ทางสังคมให้เกิดความแนบแน่นแล้ว ย่อมนำไปสู่ความร่วมมือกันแก้ปัญหาในระดับต่างๆ อีกทั้งยัง
จะเป็นการทำให้เกิดการถ่ายทอดความคิดประชาธิปไตยให้แผ่ขยายกว้างขวางต่อไปด้วย โดยการ
รวมกลุ่มในที่นี้มิใช่การรวมกลุ่มแบบเล่นพรรคเล่นพวก (Spoils system) แต่อย่างใด หากแต่
เป็นการรวมกลุ่มที่เกิดจากผู้ที่มีจิตสำนึกทางวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยที่ดีงาม (กฤษฎา
แก้วเกลี้ยง 2553, น.150-151) ซึ่งคำว่า วัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยที่ดีงามนี้ ก็ถือเป็นหัวใจ
สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พลเมืองจำเป็นต้องมีเพื่อรักษาทุนทางสังคมไว้ เพราะคำว่า วัฒนธรรม
มีนัยยะถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของบุคคล เมื่อนำมารวมกับคำว่า ประชาธิปไตยแล้ว ก็จะกล่าว
ได้ว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของพลเมืองจะต้องสอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตยด้วยจึงจะ
ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุที่คำว่า ทุนทางสังคม
ในบริบทของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นมากกว่าเครือข่ายทางกายภาพที่บุคคลเข้ามา
รวมตัวกันเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของ “จิตวิญญาณ” และ “จิตสำนึก” แห่งความเป็น
พลเมืองที่ดีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กล่าวคือ การที่ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มที่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5