Page 526 - kpi17073
P. 526
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 525
การร่วมทำประชาคม ฯลฯ ซึ่งผู้ใดจะเลือกเข้าไปมาส่วนร่วมทางการเมืองด้วยวิธีใดนั้นย่อมขึ้นอยู่
กับโอกาสและจังหวะต่างๆ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในประเด็นหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันค่อนข้างมากเมื่อ
เชื่อมโยงถึงประเด็นการเมืองระดับเล็กก็คือ ประชาธิปไตยชุมชน โดย เธียรชัย ณ นคร (2553)
ให้แง่คิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยชุมชนไว้อย่างน่าสนใจว่า
คำว่า “ประชาธิปไตยชุมชน” ในมิติทางการเมือง อาจมีความหมายมากไปกว่าการมี
ส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของตนเอง หรือมากไปกว่าการมีส่วนร่วมในดำเนินกิจกรรม
สาธารณะโดยทั่วไป เนื่องจาก “ประชาธิปไตยชุมชนในมิติทางการเมือง” ในความหมายซึ่งเป็นที่
เข้าใจกันในขณะนี้ หมายความถึงแนวทางการจัดการตนเองของประชาชนและชุมชน ที่ประชาชน
และชุมชนสามารถวางแผนหรือกำหนดความต้องการของตนเอง และดำเนินการแก้ไขปัญหาของ
ตนได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือท้องถิ่น และในขณะเดียวกัน ก็ยัง
สามารถใช้สิทธิในฐานะประชาชนในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและ
ท้องถิ่น ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
(เธียรชัย ณ นคร, 2553, น.22-23)
จากแง่มุมของประชาธิปไตยชุมชนที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ประชาธิปไตยชุมชน
ถือเป็นองค์รวมของการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเล็ก เนื่องจาก
ประชาธิปไตยชุมชนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยทุกชุด อีกทั้งประชาธิปไตยชุมชนยังเน้นที่การที่ประชาชนสามารถกำหนด
“ชะตากรรม” ของตนเองผ่านทางการเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย มิใช่การรอคอยให้ภาครัฐเข้ามาให้
ความช่วยเหลือ หรือแม้แต่การ “ชี้นำ” เพียงอย่างเดียว และแน่นอนว่า การที่จะเกิด
ประชาธิปไตยชุมชนได้ ประชาชนในชุมชนย่อมต้องมีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองอยู่ในตัว
โดยการมีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองนี้จะทำให้ชุมชนสามารถก้าวไปสู่การพัฒนาบรรยากาศ
ของความเป็นประชาธิปไตยที่รุดหน้าได้ และยังสามารถสร้างความเป็นกลุ่มก้อนที่มีความ
เชื่อมแน่นทางสังคม (Social Cohesion) ขึ้นได้อีกด้วย เช่น งานศึกษาของทศพล สมพงษ์
(2555) ที่ศึกษาเกี่ยวกับสำนึกพลเมืองกับการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น โดยงานศึกษาดังกล่าว
พบว่าการรวมกลุ่มกันเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้น เกิดจากการที่คนในท้องถิ่นตระหนักถึง
ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพวกเขา ซึ่งปัญหาเหล่านั้นก็ได้แก่ ภัยคุกคามจากการแย่งชิง
ทรัพยากรของกลุ่มทุน รวมถึงความด้อยประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของภาครัฐ (ทศพล
สมพงษ์, 2555, น.บทสรุปผู้บริหาร)
กล่าวได้ว่า ที่ผ่านมาชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังถูกแทรกแซงและอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์
ของนักการเมือง นายทุน และผู้มีอิทธิพลมาโดยตลอด ผ่านหัวคะแนน ผ่านผู้นำและผู้ที่มีอิทธิพล
ในท้องถิ่น ผ่านระบบการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ยิ่งทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความขัดแย้ง
แตกแยก ไม่สามารถดูแลและจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง จึงไม่สามารถสร้างความเข้มแข็ง
สร้างการพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน (ชัชวาล ทองดีเลิศ, 2553, น.294-295) ซึ่งปัญหา
ดังกล่าวนับเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบแก้ไข เพื่อให้เกิดระบอบการปกครองแบบ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มิใช่ปล่อยให้นักการเมืองท้องถิ่นและผู้มีอิทธิพลนำคำว่า