Page 528 - kpi17073
P. 528

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   527


                      “ของนักการเมือง” “โดยนักการเมือง” และ “เพื่อนักการเมือง” ไปแบบถาวร โดยมีคำว่า
                      การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการรับรองความชอบ

                      ธรรมแบบปลอมๆ ให้กับบุคคลกลุ่มนี้

                              ทางเลือกของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองระดับใหญ่ที่น่าจะมี

                      ประสิทธิภาพทางหนึ่งก็คือ การเปิดเวทีสาธารณะร่วมกันของภาคประชาชนในลักษณะของการ
                      สานเสวนา เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้ามาปรึกษาหารือและหาข้อยุติในความคิดเห็นที่แตกต่างร่วมกัน

                      จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของประชาสังคม (Civil Society) ที่เข้มแข็ง จากนั้นจึงใช้เป็นมติของ
                      ประชาชนเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารประเทศ ซึ่งการกระทำเช่นนี้น่าจะสามารถทำให้การมีส่วนร่วม
                      ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบถ่วงดุล

                      มากกว่าการเคลื่อนไหวแบบกระจัดกระจาย หรือเป็นการเมืองแบบฝูงชน (Political of Mass
                      Society) อย่างที่ผ่านมาเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นการจัด

                      ระเบียบทางความคิดของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายมาขั้นหนึ่งแล้วจึงนำเสนอต่อ
                      ผู้มีอำนาจ ทำให้เกิดอำนาจของการต่อรองจากองค์กรภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง เป็น
                      ระเบียบ ไม่ถูกปราบปรามและถูกจับกุมคุมขังเพียงเพราะผู้มีอำนาจทางการเมืองมองว่า

                      ประชาชนที่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเหล่านั้นอยู่ในสถานะ “ผู้ก่อกวน” ทั้งที่ความ
                      จริงแล้ว ผู้มีอำนาจทางการเมืองทั้งหลายก็ล้วนเป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกให้เข้าไปดำรงตำแหน่ง

                      เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม


                      บทสรุป



                            จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้มี

                      ความเจริญรุ่งเรืองบนฐานของประชาชนนั้น มีความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาพัฒนา
                      ประชาธิปไตยในเชิงระบบ โดยเราสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ทุนทางสังคม
                      และการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาการปกครองระบอบ

                      ประชาธิปไตยได้ เพราะแนวคิดทั้งสามเป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงกับการปกครองระบอบ
                      ประชาธิปไตยอยู่ค่อนข้างมากและสามารถนำมาเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ เพียงแต่เราจำเป็นต้องมี

                      การมองแนวคิดเหล่านี้ในเชิงวิพากษ์เพื่อนำสาระสำคัญที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับการปกครอง
                      ระบอบประชาธิปไตย โดยแนวคิดความเป็นพลเมืองเป็นเรื่องของการส่งเสริมให้ประชาชน
                      ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างรุกเร้า (Active) ในทุกระดับ มิใช่

                      เป็นเพียงผู้ขอรอรับเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญคือ ประชาชนทุกคนจะต้องมีจิตสำนึกที่ดีงาม
                      ตามเจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับผิดชอบต่อส่วน

                      รวม การมีจิตสาธารณะ การรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ฯลฯ รวมถึงจะต้องมีคุณสมบัติของ
                      ความเป็นพลเมืองต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากพบสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามครรลองของ
                      ประชาธิปไตยก็จะต้องไม่ทำตัวแบบ “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่” แต่จะต้องมีจิตสำนึกในการเข้าไป

                      ร่วมแก้ไขสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้อง ซึ่งการสร้างทุนทางสังคมให้มีความเข้มแข็งก็ถือเป็นแนวทางสำคัญ      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                      ที่จะทำให้ประชาชนมีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากทุนทางสังคมเป็นเรื่องของเครือข่าย
   523   524   525   526   527   528   529   530   531   532   533