Page 533 - kpi17073
P. 533
532 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
คุณสมโชค จันทอง
กฎระเบียบมีมาตรฐานเหมือนกัน การทำตามกฎระเบียบ ไม่มีใครได้ ไม่มีใครเสีย แต่ส่วนมาก
ผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจทางด้านทรัพย์สินเงินทองก็มักจะเอาประโยชน์เข้าตัว สถาบัน
การเมืองก็เช่นเดียวกัน ในพรรคการเมืองเล็กๆ ในกฎหมายว่าด้วย อยากให้มีสิทธิ เสรีภาพ
หลากหลายสาขาอาชีพ หญิงชาย ให้เหมือนกันคละเคล้ากันไปตามสัดส่วน ตามความเหมาะสม
แต่ความเหมาะสมอยู่ตรงไหน พรรคการเมืองใหญ่มีเงินเยอะ เวลา กกต. ให้งบประมาณไปหาเสียง
พรรคการเมืองใหญ่ได้เยอะ พรรคการเมืองเล็กไม่เกิด คนดีไปอยู่กับคนชั่วไม่ได้หรอก คนดีก็ต้อง
เกาะกลุ่มกับคนดี แล้วคนดีก็ไม่ค่อยมีเงินมากๆ สู้ไปก็แค่ด้วยใจ นี่คือการเมืองใหญ่ และสถาบัน
การเมืองไม่เป็นสถาบันการเมือง เอาคนที่มีลูกหลาน มีความรู้เป็นคนที่เคยเป็นหัวหน้าชั้นรึเปล่า
ก็ไม่ทราบ มาขึ้นตำแหน่งสูงๆ และก็คุมบริหารทั่วประเทศ และการเมืองไทยจะเจริญได้อย่างไร
ภาคการเมืองภาคประชาชนที่เราทำเรื่องจังหวัดจัดการตนเองหรือรัฐธรรมนูญของอำนาจเจริญ
ประชาชนที่รวมกลุ่มกันก็ต่อสู้อย่างปากกัดตีนถีบ ไปขอความร่วมมือจากส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่
เขาก็รับปากว่าจะช่วย แต่ก็ไม่ช่วย เราสู้กันกี่ครั้งแล้ว ฝากไว้ว่าการเมืองภาคพลเมืองขาดในเรื่อง
ของเศรษฐกิจ อยากให้หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและทุนทรัพย์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ในความหมายของชาวบ้าน การเลือกตั้งไม่ใช่การใช้สิทธิ แต่เป็นการแสดงอำนาจในการ
เลือก agency เพื่อที่จะไปทำงานทำหน้าที่แทนเขา ในทัศนคติผม ดุลยภาพจะเกิดขึ้นได้ ผมอยาก
ให้ชาวบ้านตัดคำว่าใจถึงพึ่งได้ แต่อยากให้ชาวบ้านลุกขึ้นมามีอำนาจด้วยตัวเอง ไม่ใช่เอา agency
มาเป็นตัวแทนอำนาจ ส่วนหนึ่งที่ผมยอมรับ คือ อำนาจรัฐของเรามากเหลือเกินและก็ไม่เป็นธรรม
และเหลื่อมล้ำ จากการลงพื้นที่ฟังชาวบ้านแล้วผมเข้าใจเลย แต่ในมุมกลับกันจะทำยังไงให้
ชาวบ้านเกิดความรู้สึกที่มีภูมิคุ้มกันในตนเอง พึ่งพาตนเองได้ ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยตัวเอง
ภาคประชาสังคมทำยังไงถึงจะเข้มแข็ง ทำยังไงถึงจะมีคนแบบยายไฮ ขันจันทา ที่เป็นชาวบ้าน
ธรรมดา ที่จะลุกขึ้นมาสู้เพื่อให้เขาได้สิทธิในสิ่งที่เขาต้องการ เพราะว่าการที่เขาไปอาศัย agency
หรือตัวแทนนั้นมันไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น ถ้าภาคประชาสังคมเข้มแข็ง และยืนบนขาตัวเองได้
ประชาธิปไตยถึงจะเข้มแข็ง แล้วก็จะเป็นการถ่วงดุลอำนาจของสถาบันทางการเมือง เพราะว่า
ในมุมหนึ่งสถาบันทางการเมืองเป็นคนกำกับ เป็นผู้ปกครองประชาชน การออกกฎหมายก็คือ
การจำกัดสิทธิ การให้อำนาจลงโทษ แต่ถ้าภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งก็สามารถกำกับสถาบัน
ทางการเมืองให้อยู่ในกรอบที่ควรจะเป็นได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเข้มแข็ง เมื่อนั้นจะเกิดความสมบูรณ์
แต่ในตอนนี้สถาบันทางการเมืองเข้มแข็งมากกว่าภาคประชาชนมาก เพราะว่าประชาชนยังอาศัย
พรรคการเมืองเป็น agency อยู่ ไม่ได้ยืนบนขาตนเอง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5