Page 538 - kpi17073
P. 538
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 537
การคลัง ซึ่งเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถใช้ได้ ในบริบทของท้องถิ่นคือ เงินอุดหนุน คำศัพท์อย่าง
เป็นทางการในตำรามักเรียกว่า intergovernmental transfer (การโอนเงินจากรัฐบาลกลาง
ให้รัฐบาลท้องถิ่น)
การสังเคราะห์ความรู้การคลังท้องถิ่นนี้ กำหนดเป้าประสงค์และขอบเขตดังนี้ หนึ่ง
การทบทวนกำหนดกติกา (rule setting) ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุของปัญหาความ
เหลื่อมล้ำหรือความไม่เสมอภาคทางการคลัง กติกาที่ว่านี้หมายรวมถึงการจัดสรรเงินอุดหนุน
ทั่วไป เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ และการจัดสรรภาษีแบ่ง (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น)
พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์และทดสอบว่าความเหลื่อมล้ำทางการคลังมากน้อยเพียงใด
เปลี่ยนแปลงทางใด? ลดลงหรือเพิ่มขึ้น การวัดความเหลื่อมล้ำมีใช้เทคนิคที่นิยมใช้แพร่หลายคือ
ดัชนีจินี และการวิเคราะห์ด้วยรูปกร๊าฟ “เส้นลอเรนซ์”
สอง การวิเคราะห์แนวทางขยายฐานรายได้ท้องถิ่น ขยายความก็คือ ถึงแม้รัฐบาลไทย
สนับสนุนการกระจายอำนาจตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา แต่ฐานภาษีของท้องถิ่นแทบมิได้
เปลี่ยนแปลง ขยายความคือ กฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา
ภาษียาสูบ เป็นกฎหมายที่ตรามาก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อันเป็นยุคการบริหารรวมศูนย์
อำนาจ กติกาภาษีระบุให้ เทศบาลมีอำนาจเก็บภาษีเพิ่มร้อยละ 10 เป็นต้น หมายถึง กระทรวง
การคลังเก็บภาษี 100 บาท ให้เทศบาลมีอำนาจจัดเก็บเพิ่มขึ้น 10 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนนโยบาย
กระจายอำนาจ หมายถึงการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. จึงสมควรโอนอำนาจการจัดเก็บภาษีให้ท้องถิ่น
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ คำศัพท์วิชาการคือ revenue assignment = expenditure
assignment หมายถึง การออกแบบรายได้ (ภาษีและค่าธรรมเนียม) เหมาะสมกับ ภารกิจ
ที่ อปท. ดำเนินการ การขยายฐานรายได้ให้ท้องถิ่น ส่วนหนึ่งคือการปรับปรุงกฎหมายภาษี
ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น (การยกร่าง พรบ. รายได้ท้องถิ่น พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกฎหมายลูกตาม
รัฐธรรมนูญ 2550 แต่น่าเสียดายที่มีความล่าช้าในกระบวนการนิติบัญญัติทำได้ร่างพระราช
บัญญัติฉบับนี้ยังไม่ผ่านเป็นกฎหมาย) อีกส่วนหนึ่งคือการคิดใหม่ซึ่งมีข้อเรียกร้องให้จัดเก็บภาษี
ทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีสิ่งแวดล้อม ทั้งสามกฎหมายเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเป็นอย่างมาก และ
เป็นหัวข้อที่จะกล่าวถึงเป็นรายละเอียดต่อไป
สาม การสังเคราะห์มาตรการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งกินความถึงการจัดสรรเงินอุดหนุน และ
การจัดสรรภาษีแบ่ง โดยคำนึงถึงความเสมอภาค หรืออย่างน้อย “ลดช่องว่าง” ระหว่างพื้นที่รวย/
จน เครื่องมือของรัฐบาลคือเงินโอนระหว่างรัฐบาล (intergovernmental transfer) ซึ่งมีตัวอย่าง
สอดคล้องกับหลัก “เงินอุดหนุนเพื่อความเสมอภาค” (equalization grant) ข้อเสนอการปฏิรูป
ภาษีบนฐานความมั่งคั่ง (wealth based tax) เพื่อเพิ่มรายได้ท้องถิ่นและขณะเดียวกันเป็น
มาตรการควบคุมความเหลื่อมล้ำ เช่นภาษีกองมรดกและของขวัญ (estate and gift tax) การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6