Page 536 - kpi17073
P. 536
การสังเคราะห์ความรู้การกระจายอำนาจ
และการคลังท้องถิ่น:
การขยายฐานรายได้และมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ
ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์*
ความสำคัญของปัญหาและความจำเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วใน 15 ปีที่ผ่านมา
เนื่องจากนโยบายกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ซึ่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญ 2540 และ พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยถ่ายโอนภารกิจ โอนเงิน และ
โอนบุคลากรจากหน่วยงานระดับกรม ให้ อปท. (แผนถ่ายโอนระบุจำนวน
245 ภารกิจ – แต่ในสภาพเป็นจริงเข้าใจว่าไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์อย่าง
ครบถ้วน) ส่งผลทำให้ อปท. โดยรวมมีบทบาทการผลิตบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น
อย่างมาก เป็นการเติบโตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่งผลบวกต่อคุณภาพชีวิต
ประชาชน (ประเมินจากเอกสารรายงานการวิจัยหลายฉบับของสำนักงาน
คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในด้านวิชาการ
มีความตื่นตัวเกี่ยวกับการวิจัยและการเรียนการสอนหัวข้อการปกครอง/การคลัง
ท้องถิ่นในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ มีผลงานบันทึกความคิดริเริ่มและ
นวัตกรรมของ อปท. การวัดผลผลิตและผลลัพธ์ของ อปท.จำแนกออกเป็น
ด้านๆ เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม การ
จัดการศึกษา การส่งเสริมสุขภาพและจัดสวัสดิการประชาชนในชุมชน เป็นต้น
บทความนี้เสนอการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการคลังท้องถิ่น เพื่อเข้าใจ
พัฒนาการของการกระจายอำนาจและปัญหาเชิงโครงสร้างการคลังในปัจจุบัน
ด้านหนึ่งคือการเจริญเติบโตของทรัพยากรการคลังที่ อปท. รับผิดชอบและการ
* อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์