Page 539 - kpi17073
P. 539
538 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ทบทวนความรู้ภาคทฤษฎี การกระจายอำนาจและการคลังท้องถิ่น
การกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้ท้องถิ่น เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก หมายถึง เป็นแนวโน้ม
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก (มีผลงานวิจัยของธนาคารโลกที่สำรวจว่ามีกี่ประเทศที่กำหนด
นโยบายกระจายอำนาจเป็นหลักสำคัญ หรือตราเป็นกฎหมาย และบันทึกความรู้เกี่ยวกับการ
ถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางให้ท้องถิ่น) ที่กล่าวเช่นนี้มิได้เป็น “การทำตามกระแส” แต่เป็นการ
เปลี่ยนแปลงเนื่องจากเหตุผลสำคัญ คือ ประสิทธิภาพของการจัดบริการสาธารณะโดยรัฐบาลท้อง
ถิ่น สูงกว่าการจัดบริการสาธารณะจากส่วนกลาง โดยมีอรรถาธิบายเหตุผล อาทิเช่น การรับรู้
ความต้องการของประชาชน ความสามารถตอบสนองต่อปัญหาในท้องถิ่นรวดเร็วทันการ การเปิด
โอกาสให้คนท้องถิ่นมีส่วนออกความคิดเห็นการพัฒนา การทำแผนพัฒนา และตรวจสอบรายจ่าย
ของท้องถิ่น การจัดบริการสาธารณะตามรสนิยมและวัฒนธรรมของประชาชนแต่ละพื้นที่
นวัตกรรมและความริเริ่มของท้องถิ่น อนึ่ง การทำงานของรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ภายใต้บรรยากาศการ
แข่งขัน
ขออ้างอิงผลงานระดับปรมาจารย์บางชิ้นพอเป็นสังเขปดังนี้ Charles Tiebout (1956)
เสนอแนวความคิดว่า การให้มี “รัฐบาลท้องถิ่น” จำนวนมาก ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน (แทนที่
จะทำงานแบบผูกขาด เช่นราชการส่วนกลาง) สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในท้องถิ่น
เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นต้องเป็นที่ยอมรับ (ผ่านการเลือกตั้ง) จากประชาชน ถูกตรวจสอบ
โดยสภาท้องถิ่นและผู้รับบริการ การทำงานของคนท้องถิ่นเผชิญกับการประกวดตลอดเวลา
โดยเปรียบเทียบผลงานของเทศบาล และ อบต. รอบข้าง ทำให้พลเมืองมีอิสระที่จะเลือก
ในขณะที่ James Buchanan (1950) นักเศรษฐศาสตร์ระดับโนเบลซึ่งเป็นผู้นำของสำนักทาง
เลือกสาธารณะ (public choices school of thought) เปรียบเทศบาลหรือ อบต. เสมือน
“สโมสร” ที่สมาชิกสมัครใจเลือกตามรสนิยม แต่ละสโมสรมีจุดเด่นแตกต่างกัน ซึ่งมีความลงตัว
หรือ “จุดดุลยภาพ” Wallace Oates (1972) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำอีกท่านหนึ่งพัฒนาวิธี
วิเคราะห์กลายเป็นทฤษฎีกระจายอำนาจ (Decentralization Theorem) ที่อ้างอิงอย่างกว้างขวาง
ด้วยบทพิสูจน์ว่า การจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น ภายใต้ความหลากหลาย (diversity) ส่งเสริม
ให้เกิดความสมดุลระหว่าง “อุปสงค์” และ “อุปทาน” ผลลัพธ์คือประสิทธิภาพ สูงกว่าการจัด
บริการสาธารณะในลักษณะ “เหมือนกันหมด” (uniformity หรือ one size fits all)
มีผลงานวิจัยในต่างประเทศจำนวนมากมายที่พยายามทดสอบข้อสันนิษฐานตามที่นักทฤษฎี
อธิบาย เช่น การทดสอบ “การไหลของผู้ลงคะแนนเสียง” (ข้อสันนิษฐาน voting by feet หมายถึง
ประชาชนเลือกอยู่อาศัยในพื้นที่ของรัฐบาลที่มีการบริหารจัดการที่ดี จัดบริการสาธารณะที่ถูกใจ
ทั้งนี้ต้องคำนึงว่า การอพยพของประชากรนั้นมีต้นทุนค่าโสหุ้ย ดังนั้น บุคคลย่อมจะพิจารณา
อย่างรอบคอบ เปรียบเทียบระหว่าง “ผลได้” กับ “ผลเสีย” ดังกล่าว) มีวิจัยเปรียบเทียบ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ประสิทธิภาพของรัฐบาลท้องถิ่น การศึกษาการตอบสนองของประชาชนในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง
อัตราภาษีหรือค่าธรรมเนียมท้องถิ่น เป็นต้น