Page 540 - kpi17073
P. 540
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 539
ในการออกแบบนโยบายการคลังท้องถิ่น มีหลักการพื้นฐานสำคัญคือ หนึ่ง การแบ่งภารกิจ
หรือการแบ่งรายจ่าย (expenditure assignment) หมายถึง คำถามว่า ราชการส่วนกลาง
เหมาะสมที่จะปฏิบัติภารกิจใด และราชการท้องถิ่นเหมาะสมกับงาน โดยคำนึงประสิทธิภาพสูงสุด
กล่าวสรุปโดยย่อ ราชการส่วนกลางมีความเหมาะสมที่จะรับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะส่วน
รวม (collective public goods) ตัวอย่างเช่น การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ การยุติธรรม
การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ การวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยุทธศาสตร์
ของประเทศ ในขณะที่ อปท. รับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น สอง การแบ่งรายได้
(revenue assignment) หมายถึง อปท. ควรจะมีฐานรายได้จากภาษีหรือค่าธรรมเนียมประเภทใด
และ “ภาษีฐานร่วม” (shared tax) ที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร ภาษีฐานร่วมหมายถึงการที่
รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีบนสินค้าหรือบริการเดียวกัน คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีสรรพสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ฯลฯ โดยคำนึงถึงหลักปฏิบัติด้านภาษี
1
เช่น อาทิ ความพอเพียงของรายได้ (เพื่อการผลิตบริการสาธารณะ) รายได้ที่มีเสถียรภาพ
การจัดเก็บภาษีอิงหลักความเสมอภาค ต้นทุนของการบริหารภาษีและจัดเก็บค่าธรรมเนียม และ
การยอมรับของประชาชน การออกแบบภาษีหรือค่าธรรมเนียม ควรคำนึงถึงหลักผลประโยชน์
(benefit principle) หลักความสามารถการเสียภาษี (ability to pay principle) หลักผู้สร้าง
มลพิษต้องจ่าย (polluter pays principle)
ดังกล่าวในตอนต้นว่ามี การขับเคลื่อนนโยบายกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเกิดขึ้นทั่วโลกตลอด
สามทศวรรษที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยเชิงประเมินผลและติดตามผลกระจายอำนาจฯ โดยองค์การ
ระหว่างประเทศ (ธนาคารโลก) สถาบันวิชาการต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย
(Boadway and Shah 2009, Shah 2006 Mochida 2008)
ความเหลื่อมล้ำมิติพื้นที่ และการคลังท้องถิ่น
ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ และ ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น เป็นปรากฏการณ์
ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ด้านหนึ่งคือการกระจุกตัวของความเจริญทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่/หรือ
บางภูมิภาค วัดด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์คือ GPP per capita วัดความเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้ม
ในอนาคต กิจกรรมทางเศรษฐกิจมักจำแนกออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาการเกษตร สาขา
อุตสาหกรรม และสาขาการบริการ ในบริบทของประเทศไทย—สัดส่วนของการผลิตภาคเกษตร
มีแนวโน้มลดลง ขณะนี้มูลค่าเพิ่มเกษตรคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 10-15 มูลค่าเพิ่ม
อุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35-40 ส่วนที่เหลือเป็นภาคบริการ
กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ระบุนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยระบุให้รัฐเข้าไปแทรกแซง
เท่าที่จำเป็น และปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินการตามหลักแข่งขันเสรี ซึ่งหมายถึง การแทรกแซง
ของภาครัฐทำเท่าที่จำเป็น หากระบบตลาดมีการแข่งขันและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาล
1 ประเทศจีนเป็นตัวอย่างที่กำหนดให้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เป็นภาษีแบ่ง โดยแบ่งให้ท้องถิ่น การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
ร้อยละ 40