Page 537 - kpi17073
P. 537
536 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ขยายตัวของกิจกรรมบริการสาธารณะ รายได้ของ อปท. มาจากสามแหล่งคือ รายได้ที่จัดเก็บเอง
ภาษีแบ่งและเงินอุดหนุน ตามข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 อปท. มีงบประมาณรายได้
รวมกันมากกว่า 6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27-28 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล นำไป
จัดสรรเป็นรายจ่ายทำกิจกรรมและบริการสาธารณะเพื่อความสุขของประชาชน อปท. มีเงินสะสม
รวมกันไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาเพื่อเป็นทุนสำรองเผื่อเหตุฉุกเฉิน
บริหารจัดการเมื่อมีผันผวนจากวิกฤตเศรษฐกิจหรือภัยธรรมชาติ อปท. จำนวนหนึ่งยังกู้ยืมเงิน
จากสถาบันการเงินเพื่อนำมาลงทุนและพัฒนาโครงการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่ให้ผล
ตอบแทนเชิงพาณิชย์) อีกด้านหนึ่งคือปัญหาเชิงโครงสร้างเนื่องจากความเหลื่อมล้ำและความ
ไม่เป็นธรรมทางการคลังท้องถิ่น ซึ่งจำแนกเป็นแนวตั้ง และแนวนอน (ดังจะกล่าวขยายความและ
อภิปรายสาเหตุในตอนต่อไป) ความเหลื่อมล้ำการคลังของท้องถิ่นนั้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากความ
เหลื่อมล้ำมิติพื้นที่ (ซึ่งยืนยันได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และ GPP
per capita ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ) ทำให้ฐานภาษีของ อปท. แต่ละแห่ง
แตกต่างกันตามภูมิภาค จังหวัด สภาพเมือง/ชนบท ทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลความเจริญ เป็นต้น
ขยายความ ความไม่สมดุลทางการคลัง (fiscal imbalance) จำแนกเป็นแนวตั้งและ
แนวนอน ตัวอย่างความไม่สมดุลตามแนวตั้ง (vertical fiscal imbalance) เช่น สถานะการคลัง
ของ กทม. เปรียบเทียบกับ เทศบาล อบต. – ความแตกต่างนั้นมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่ง
เกี่ยวกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากการกำเนิดขององค์กรท้องถิ่นไม่พร้อมกัน เช่น
กทม. ตั้งมานานเปรียบเสมือน “พี่ใหญ่” ต่อมามีน้องคลานตามมาหลายพันหน่วยงาน คือ อบต.
เทศบาลตำบล ภาระการคลังรัฐบาลย่อมจะเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เงินอุดหนุน
หรือภาษีแบ่งตาม “สูตร” ที่จัดสรรจึงถูกจำกัดตามไปด้วย อาจทำให้ อปท. ที่เกิดใหม่ได้รับ
ทรัพยากรน้อยหรือไม่เท่าเทียมกับ “พี่ใหญ่” จึงอาจเกิดความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมหรือไม่เท่าเทียม
ยิ่งกว่านั้นเมื่อวิเคราะห์ความสามารถจัดเก็บรายได้ของแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน มโนทัศน์ความ
ไม่สมดุลตามแนวนอน (horizontal fiscal imbalance) เป็นการเปรียบเทียบ อปท. ประเภท
เดียวกัน เช่น เทศบาล A กับเทศบาล B, C, D หรือ ระหว่าง อบต. E กับ อบต. F, G, H …
ถึงแม้ควบคุม “ปัจจัยอื่น” ให้เหมือนกัน เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่เท่ากัน -- แต่
“รายได้ต่อหัว” ของแต่ละท้องถิ่นก็อาจแตกต่างกันมาก เนื่องจากฐานภาษี/ค่าธรรมเนียมของ
แต่ละพื้นที่ ไม่เท่ากัน เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตามมีหลักความคิดที่ยึดถือกัน
ทั่วโลก คือ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลางในการกำกับดูแลให้ประชาชนทุกภาคส่วน เมือง/ชนบท
ได้รับบริการสาธารณะจากรัฐใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างมากจนเกินไป ซึ่งหมายถึง พื้นที่ยากจน
ควรจะได้รับการอุดหนุนจากรัฐมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่ปล่อยตามยถากรรม เพราะหากคงสภาพให้
“แตกต่างกันมาก” ประชากรจากพื้นที่ยากจนจะไหลเข้ามาพำนักและทำมาหากินในพื้นที่รวย
ซึ่งจะก่อเป็นปัญหาเมืองแออัดและความด้อยประสิทธิภาพอีกมากมาย ดังนั้นรัฐบาลในทุกประเทศ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ในคำแถลงนโยบายรัฐบาลไทยก็เช่นเดียวกันระบุนโยบายกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำ
มีแผนกระจายความเจริญให้ทั่วถึง มาตรการลดความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความเสมอภาค
หรือทำให้เกิดความเสมอภาค เช่น การประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้
ประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการสุขภาพขั้นต่ำถ้วนหน้ากัน ทั้งนี้ภาครัฐมีเครื่องมือทางการเงิน