Page 541 - kpi17073
P. 541

540     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ไม่ควรจะแทรก อีกนัยหนึ่งการแทรกแซงของรัฐบาลให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็น ตามหลักการนี้
                  การเลือกทำเลที่ตั้งของบุคคลหรือสถานประกอบการ – ปล่อยให้ “เอกชน” ตัดสินใจ/ดำเนินการ

                  การเลือกทำเลที่ตั้งใน “จังหวัด” หรือ “ภูมิภาค” เป็นการตัดสินใจของเอกชน ดังนั้น การเลือก
                  พื้นที่จึงมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล แต่รัฐบาลมีอำนาจการจัดสรร “แรงจูงใจ” ให้
                  ผู้ประกอบการ ตามหลักเสรีภาพกล่าวคือ การเศรษฐกิจ การกระจุกตัวในบางพื้นที่เป็นเรื่องยาก

                  และอาจจะนอกเหนือการควบคุมของภาครัฐ (เช่น การเลือกทำเลที่ตั้งของภาคเอกชนที่ให้ผลกำไร
                  สูงสุด) อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีอำนาจกำกับควบคุมส่วนหนึ่ง เช่น การจัดสรรงบประมาณใน

                  จังหวัด/ภูมิภาคยากจน แต่รัฐอาจจะมิได้ดำเนินการเช่นนี้ ในทางตรงกันข้ามการจัดสรรรายจ่าย
                  ของรัฐมีแนวโน้มเอื้อจังหวัดร่ำรวยมากกว่าจังหวัดยากจน


                       ความเหลื่อมล้ำทางการคลังเป็นผลกระทบตามมา คือ อปท. ในพื้นที่ยากจนมีฐานภาษีต่ำ
                  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกระจุกตัวในกรุงเทพมหานคร

                  หรือบางจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีผลการประมาณ
                  การค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีแบ่ง กับ GPP (Patmasiriwat 2012)


                       ความเหลื่อมล้ำอีกส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเชิงสถาบัน คือ วิธีการเสียภาษีของกรมสรรพากร
                  อนุญาตให้สถานประกอบการเสียภาษีแบบ “รวมจ่าย” หรือ “แยกจ่าย” เช่น บริษัท A มีสาขา

                  ในหลายจังหวัด แต่การชำระภาษีให้รัฐ สามารถรวมจ่าย ทำให้ตัวเลขสถิติการจัดเก็บภาษี
                  ไม่สะท้อนความจริง (มูลค่าเพิ่มซึ่งกระจายอยู่ในหลายจังหวัด)


                       การที่ท้องถิ่นมีขีดความสามารถต่ำ และความพยายามจัดเก็บภาษีต่ำ (low tax effort)
                  ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้รายได้ที่จัดเก็บต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากฝ่ายการเมืองท้องถิ่นคำนึงถึง

                  ฐานคะแนนเสียงเกรงว่าประชาชนจะไม่เลือกตั้งหากปรับค่าธรมเนียมหรือภาษีท้องถิ่น


                  ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มิติพื้นที่



                       ดังกล่าวในตอนต้นว่า การศึกษาความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำ

                  ทางเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติพื้นที่ ซึ่งวัดด้วยผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (GPP per capita)
                  เป็นส่วนหนึ่งของบัญชีประชาชาติ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

                  สังคมแห่งชาติ เพื่อวัดความสามารถการผลิตสินค้าและบริการของแต่ละจังหวัด จากสาขาการเกษตร
                  อุตสาหกรรม และการบริการ นำมาวิเคราะห์ตามหัวข้อต่อไปนี้ ก) ศึกษาความแตกต่างของ GPP
                  per capita เป็นรายภาค และเปรียบเทียบจังหวัดรวย จังหวัดจน ข) ทดสอบสันนิษฐานว่า

                  ความเหลื่อมล้ำฯ มีแนวโน้มลดลง (convergence) หรือไม่ ซึ่งแนวคิดเช่นนี้เป็นตามกรอบคิด
                  นีโอคลาสสิก ที่เชื่อว่าทุนจะไหลออกจากพื้นที่เจริญไปยังพื้นที่ยากจนกว่า มีผู้เรียกว่า “การไล่กวด
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   โดยอิงข้อสมมติ increasing returns หมายถึงพื้นที่หรือหน่วยผลิตชั้นนำมีเทคโนโลยีและการวิจัย
                  ทางเศรษฐกิจ” (catching-up hypothesis) อย่างไรก็ตามมีแนวคิดใหม่ที่แย้งความเห็นดังกล่าว


                  อย่างต่อเนื่อง ทุนจึงกระจุกตัวในบางพื้นที่/บางภูมิภาค และการไล่กวดทางเศรษฐกิจอาจจะ

                  ไม่มีจริง
   536   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546