Page 525 - kpi17073
P. 525
524 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ระบอบประชาธิปไตยย่อมต้องมีหลักคิดที่เชื่อในความสามารถในการตัดสินใจกระทำการอย่างใด
อย่างหนึ่งของประชาชนเสียก่อน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะต้อง
มองเห็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของบุคคลทุกคน แล้วเปิดโอกาสให้บุคคลแสดงศักยภาพนั้นออกมา
ตราบใดที่ไม่ได้ทำให้ส่วนรวมเกิดความเดือดร้อน และหลักการตรงนี้เองที่ทำให้การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยมีความโดดเด่นแตกต่างจากระบอบการปกครองอื่นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่า
การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีความเหมือนกับการปกครองระบอบอื่นตรงที่การมุ่งเข้าไป
จัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆในสังคมก็ตาม แต่กล่าวได้ว่า การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยนั้นแตกต่างจากการปกครองระบอบอื่นๆ ตรงที่ “วิธีการ” และ “กระบวนการ” ใน
การเข้าไปจัดการความสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเป็นใหญ่ในการอยู่ร่วมกันนั่นเอง เรียกได้ว่า
ลักษะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)
ที่เป็นการผสมประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมเข้าด้วยกัน เพื่อรักษาส่วนแบ่งของ
พื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกรอบที่สามารถรักษาดุลยภาพระหว่าง
ประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อม และยึดโยงเข้ากันได้กับความเป็นเจ้าของอำนาจ
อธิปไตยของประชาชนด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้าร่วมทางการเมืองและ
ความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเมืองของประชาชน (Political efficacy) ได้แก่
องค์ประกอบของหลักการในการกระจายอำนาจและการร่วมตัดสินใจทางการเมืองของประชาชน
หลักการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญทางการเมือง หลักการสร้างหน่วยการ
ปกครองย่อยระดับล่างที่ใกล้ชิดกับประชาชนทั่วไปในฐานราก หลักการสร้างนักการเมือง
ภาคพลเมืองที่มีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ (เชาวนะ ไตรมาศ, 2548, น.341-343)
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนนั้นสามารถทำได้ในหลายระดับ ซึ่งในที่นี้จะได้แยกวิเคราะห์การเข้าไปมีส่วนร่วมของ
ประชาชนอย่างคร่าวๆ ออกเป็น 2 ระดับ นั่นคือ ระดับจุลภาคและระดับมหภาค ทั้งนี้ก็เพื่อชี้ให้
เห็นถึงความสำคัญของการเข้าไปมีส่วนร่วมนั้น และชี้ช่องทางให้ผู้ที่เป็นพลเมืองของประเทศได้
เข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารรัฐกิจของประเทศ อันจะเป็นการสร้างเสริมให้การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยมีความเจริญงอกงามต่อไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การมีส่วนร่วมในระดับจุลภาค เป็นการมีส่วนร่วมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเมือง
ระดับเล็ก เช่น การเมืองภายในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งการมีส่วนร่วมในการเมืองระดับนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่
การมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองในระดับนโยบายของประเทศมากนัก แต่ก็กล่าว
ได้ว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับจุลภาคของประชาชน ถือเป็นพื้นฐานของการ
เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับประเทศต่อไป เพราะการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับ
จุลภาคนี้เป็นเสมือนพื้นที่ที่ฝึกหัดให้ประชาชนรู้จักการเข้าไปมีส่วนร่วมตามสิทธิและหน้าที่ของตน
ซึ่งหากประชาชนมีจิตสำนึกแห่งการมีส่วนร่วมในสนามของการเมืองระดับเล็กแล้ว ก็ย่อมเป็น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 รากฐานให้การเข้าไปมีส่วนร่วมในสนามการเมืองระดับใหญ่เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับวิธีการของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับเล็กนี้มีอยู่หลากหลายรูปแบบ
เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น การลงสมัครรับเลือกตั้ง การลงชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น