Page 521 - kpi17073
P. 521

520     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน แม้ว่าแต่ละคนจะมีภูมิหลัง
                  ทางสังคมแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านการศึกษา อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจ เช่น บางคนรวย

                  บางคนยากจน บางคนมีอำนาจ บางคนไม่มีอำนาจ แต่เชื่อแน่ว่า หากทุกคนพยายามพัฒนา
                  ตนเองให้มีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองแล้ว ก็ย่อมเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นๆ มีความเป็น
                  พลเมืองขึ้นมาได้ เช่น หากคนที่มีอำนาจไม่ใช้อำนาจไปรังแกคนที่ไม่มีอำนาจ ก็จะทำให้คนที่ไม่มี

                  อำนาจสามารถ “ลืมตาอ้าปาก” และพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองได้ง่ายขึ้น
                  เพราะไม่ต้องคอยหลบหลีกอุปสรรคในการดำเนินชีวิตที่เพิ่มเข้ามา ทำให้คนกลุ่มนี้กล้าที่จะ

                  แสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตน โดยไม่ต้องหวาดระแวงว่า เมื่อแสดงความคิดเห็นออกไปแล้ว
                  จะทำให้ตนเองเกิดความเดือดร้อนหรือไม่



                  การผสมผสานระหว่างแนวคิดความเป็นพลเมือง
                  และแนวคิดทุนทางสังคม




                       จากที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองมาข้างต้น ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอยู่บน
                  พื้นฐานของหลักการที่ควรจะเป็นของพลเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อมาถึง
                  หัวข้อนี้จะได้เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองมาประยุกต์ใช้อธิบายร่วมกับแนวคิดอื่นๆ

                  ที่สามารถเชื่อมเข้ากันได้กับแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามสร้างให้เกิด
                  ตัวแบบที่ชัดเจนมากขึ้นในการนำไปเสริมสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้บังเกิดผลอย่าง

                  เป็นรูปธรรม และสามารถอำนวยประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง มิใช่เป็นการปกครองระบอบ
                  ประชาธิปไตยที่เขียนอยู่ในกระดาษเท่านั้น โดยแนวคิดที่นำมาอธิบายในที่นี้คือ แนวคิดเกี่ยวกับ
                  ทุนทางสังคม (Social Capital)


                       แนวคิดทุนทางสังคมเป็นแนวคิดสื่อให้เห็นถึงเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้ามารวมตัวกันอย่าง
                  มีประสิทธิภาพ แล้วสามารถขับเคลื่อนให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นได้ โดยนักวิชาการส่วนใหญ่

                  ยืนยันตรงกันว่า “ทุนทางสังคม” มิใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในประเทศไทย หากแต่เป็น “คุณค่า
                  เดิม” ที่สังคมไทยมีอยู่ สังคมไทยมีคุณค่าที่เป็นทุนทางสังคมของตัวเองมานานแล้วและมีอยู่อย่าง

                  หลากหลายมากมาย เพียงแต่การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาเรามุ่งพัฒนาให้ทันความทันสมัย
                  จนหลงลืมคุณค่าเดิมที่เรามีอยู่ ไม่ได้พัฒนาจากฐานรากเดิมของชุมชน และภูมิปัญญาที่สั่งสม
                  ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้การพัฒนาประเทศในบางพื้นที่แหว่งวิ่น ไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

                  (ประชาธิป กะทา, 2547, น.20-22) ซึ่งทุนทางสังคมในสังคมไทยที่มีลักษณะเครือข่ายประชาชน
                  ที่เป็นการ “ร่วมคิด” และ “ร่วมทำ” เพื่อขับเคลื่อนภารกิจบางอย่างนั้นมีอยู่ให้เห็นมาอย่าง

                  ต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตแล้ว เช่น เครือข่ายภายในชุมชนที่บริหารจัดการเหมืองฝายของตนเอง
                  เครือข่ายเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิชุมชน เครือข่ายสมัชชาคนจน ฯลฯ โดยงานศึกษาของวรวุฒิ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   สังคมเข้ามาใช้เป็นมาตรการในการจัดการกับปัญหาต่างๆของสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนทัศน์ใหม่
                  โรมรัตนพันธ์ (2548) เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทุนทางสังคม ได้ชี้ให้เห็นถึงการนำทุนทาง


                  ในการจัดการสิ่งแวดล้อมบนฐานคิดทุนทางสังคม ได้ช่วยให้เกิดการบูรณาการความหลากหลาย

                  ของการจัดการอย่างเป็นองค์รวม และช่วยเสริมพลังให้ชุมชนเกิดการกระจายทรัพยากรอย่าง
   516   517   518   519   520   521   522   523   524   525   526