Page 517 - kpi17073
P. 517
516 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
อิสระ ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำหรือการกะเกณฑ์ของนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจคนใด (ปริญญา
เทวานฤมิตรกุล, 2554, น.257) ในทางกลับกัน หากประชาชนไม่มีคุณสมบัติของความเป็น
พลเมือง คำว่า ประชาธิปไตยที่ถูกเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็จะเป็นประชาธิปไตยแบบ “เด็กเล่น
ขายของ” นั่นคือ ไม่สามารถสร้างประโยชน์ใดๆ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้เลย กลายเป็น
ประชาธิปไตยที่ถูกเขียนไว้ “เท่ๆ” ตามประเพณีภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองใน
พ.ศ.2475 มิหนำซ้ำ ยังทำให้สังคมเกิดความเสียระเบียบ (Disorganized) ขึ้นได้ง่าย
จากการที่ประชาชนไม่ทำตัวให้เป็น “พลังของเมือง” ตามความหมายของคำว่า พลเมือง แต่ทำตัว
เป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเพียงอย่างเดียว จนมีความขัดแย้งที่รุนแรง และการเกิดความ
วุ่นวายต่างๆ ขึ้นตามมา จนไม่สามารถจัดการได้ จนในที่สุดระบบต่างๆ ที่วางไว้ก็จะไม่ทำงาน
(Dysfunction) แม้จะมีความพยายามในการวางระบบไว้ดีมากเพียงใดก็ตาม
ดังนั้น เมื่อพูดถึงการพัฒนาประชาธิปไตย เราจึงจำเป็นต้องพูดถึงการพัฒนาคุณสมบัติของ
ความเป็นพลเมืองให้กับประชาชนควบคู่ไปด้วยทุกครั้ง โดยคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองนี้
กล่าวได้ว่าสามารถนำไปใช้ปลูกฝังในสังคมได้ทุกระดับ ตั้งแต่สังคมขนาดเล็กไปจนถึงสังคมขนาด
ใหญ่ เช่น ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ ฯลฯ เพราะคำว่า พลเมือง มีนัยยะถึงการที่
หน่วยทุกหน่วยที่อยู่ในโครงสร้างทางสังคมแต่ละชุดจะต้องมีความตระหนักถึงการดำรงอยู่ของ
ส่วนรวม ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ซึ่งหากสังคมในทุกระดับมีการปลูกฝังให้สมาชิก
มีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองอยู่ในตัวแล้ว ก็เชื่อได้ว่า การพัฒนาประชาธิปไตยของ
ประเทศจะมีการเจริญรุดหน้าไปอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนา
คุณลักษณะของความเป็นพลเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่นี้จึงได้ยกหลัก 6 ประการของความเป็น
พลเมืองที่ David Mathews ได้กล่าวไว้ มาประยุกต์ในการอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะของ
1
พลเมืองอย่างที่ผู้ศึกษาคิดว่าควรจะเป็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (David Mathews, อ้างถึงใน
เพียงกมล มานะรัตน์ และปิยะมาศ ทัพมงคล, 2554, น.274)
1. ความรับผิดชอบ นับว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการแรกของประชาชนที่มี
คุณลักษณะของความเป็นพลเมือง โดยความรับผิดชอบสื่อให้เห็นถึงการที่บุคคลมีความรู้สึกว่า
ตนเองจะต้องรับผลจากการกระทำของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลร้าย ดังนั้น บุคคลจึงต้อง
พยายามไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะกระทำสิ่งใดลงไป ซึ่งเมื่อบุคคลคิดได้เช่นนี้แล้ว ก็คาดหวัง
ได้ว่า ประชาธิปไตยของประเทศก็ย่อมจะเจริญงอกงามขึ้นอย่างแน่นอน เพราะประชาชนจะไม่ทำ
สิ่งใดลงไปเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ หรือความเห็นแก่ตัวของตนเอง
เมื่อพิจารณาบรรยากาศเกี่ยวกับความรับผิดชอบในภาพรวมของประชาชนไทยในช่วงที่
ผ่านมาในภาพรวมแล้ว กล่าวได้ว่า ความเป็นพลเมืองในด้านนี้ของประชาชนไทยยังไม่เป็นที่น่า
พอใจนัก เนื่องจากที่ผ่านมา สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาการกระทำของคนจำนวนหนึ่งที่กระทำ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 1 อนึ่ง ในการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองทั้ง 6 ประการ ของ David Mathews นั้น ผู้เขียน
ได้มีการนำหัวข้อดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายในบริบทของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามความคิดของ
ผู้เขียน ดังนั้น เนื้อหาสาระที่ถูกอธิบายอยู่ในคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองแต่ละประการจึงมีความแตกต่างไปจาก
สิ่งที่เจ้าของแนวคิดเดิมกล่าวไว้ส่วนหนึ่ง