Page 514 - kpi17073
P. 514

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   513


                               ความเป็นพลเมือง ทุนทางสังคม และการมีส่วนร่วม  :

                               การสร้างดุลยภาพในการพัฒนาระบอบการปกครอง
                                                 แบบประชาธิปไตยของไทย







                      บทนำ



                            ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่การปกครอง
                      ระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยของไทยได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มา

                      อย่างหลากหลาย ทั้งในด้านที่น่าชื่นชมและด้านที่น่าสลดหดหู่ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ต่างๆ
                      เหล่านั้นก็ได้ถูกจารึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนควรนำมาเป็นบทเรียนของตนเอง

                      เพื่อสร้างเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น


                            เมื่อกล่าวถึงคำว่า ประชาธิปไตย แน่นอนว่า คำคำนี้ย่อมเป็นที่คุ้นหูของประชาชนชาวไทย
                      ในวงกว้าง เนื่องจากประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระยะเวลามากกว่า
                      80 ปี แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้คำว่า ประชาธิปไตยจะเป็นที่คุ้นหูสำหรับประชาชนไทย แต่เป็นที่น่า

                      สังเกตว่า ประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้มีความตระหนักใน “คุณค่า” ของคำคำนี้ ดังจะ
                      เห็นได้จากการที่ประชาชนบางกลุ่มยังนิยมการซื้อสิทธิ-ขายเสียง การทุจริตคอรัปชั่น การ

                      สนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงวิธีการใดๆ ก็ตามที่ไม่เป็นไปตามครรลองของการ
                      ปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสภาวการณ์เช่นนี้ นับว่ามีความน่าเป็นห่วงอย่างมากสำหรับการ
                      ปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการ

                      อยู่ร่วมกันของประชาชนหมู่มากในชีวิตประจำวัน มิใช่เพียงแค่ระบอบการปกครองในเชิง
                      นามธรรมเท่านั้น ดังที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า


                            “ปัจจัยของความสำเร็จของประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องของระบบที่ดี ประมาณ
                      50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก 50 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะมากกว่านั้น เป็นเรื่องของคน เพราะต่อให้

                      มีระบบที่ดี หรือมีรัฐธรรมนูญที่ดี แต่คนใช้ไม่เป็นหรือไม่เคารพ ต่อให้มีรัฐธรรมนูญดีก็ฉีกทิ้ง
                      เพียงมีรัฐธรรมนูญที่ดีหรือมีระบบที่ดีแต่เพียงอย่างเดียวจึงไม่มีความหมายแต่ประการใด”
                      (ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, 2554, น.246)


                            เมื่อพิจารณาถึงปัญหาเกี่ยวกับการที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังไม่ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไป

                      ตามแนวทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็ถือได้ว่า สภาพการณ์ดังกล่าวแสดงให้
                      เห็นถึงการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยยังคงอยู่ในช่วงของ “การตั้งไข่” หรือการเริ่มต้น

                      ของการพัฒนาเท่านั้น แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเชิงระบบมาเป็นระยะเวลา
                      นานกว่า 80 ปีแล้วก็ตาม เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เป็นการปกครอง
                      “ของประชาชน” “โดยประชาชน” และ “เพื่อประชาชน” นั้น เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ต้องอาศัย                   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   509   510   511   512   513   514   515   516   517   518   519