Page 512 - kpi17073
P. 512
ความเป็นพลเมือง ทุนทางสังคม และการมีส่วนร่วม :
การสร้างดุลยภาพในการพัฒนาระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตยของไทย
กฤษฎา แก้วเกลี้ยง*
บทคัดย่อ
ประชาธิปไตยถือเป็นระบอบการปกครองที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลา
กว่า 80 ปีแล้ว และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก ซึ่งการที่จะพัฒนาการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นนั้น เราจำเป็นต้องมีการ
พัฒนาประชาชนในประเทศให้มีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองที่ดี ควบคู่ไปกับ
การพัฒนาประชาธิปไตยในเชิงระบบการปกครองด้วย เนื่องจากประชาชนแต่ละ
คนล้วนเป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดอนาคตของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยว่าจะเดินไปในทิศทางใด โดยประชาชนที่มีคุณลักษณะของความ
เป็นพลเมืองอยู่ในตัวย่อมจะเป็นผู้ที่มีความรุกเร้า (Active) ที่จะเข้าไปมีส่วน
ร่วมในทางการปกครอง ไม่ว่าจะในระดับจุลภาคหรือระดับมหภาค รวมทั้งไม่เป็น
ผู้ขอรอรับความช่วยเหลือจากผู้มีอำนาจเพียงอย่างเดียว ซึ่งในงานศึกษาเรื่องนี้
ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองของ David Mathews มาประยุกต์ใช้ใน
การอธิบายคุณลักษณะของพลเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้มี
ความชัดเจนมากขึ้น โดยแง่มุมของการอธิบายมีอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
ความรับผิดชอบ ศักยภาพ อำนาจ ความสัมพันธ์ เจตจำนงทางการเมืองและ
ผลประโยชน์ และการลงมือปฏิบัติ
นอกจากนี้ ประเด็นความเป็นพลเมืองยังสามารถนำไปอธิบายร่วมกับ
ประเด็นทุนทางสังคมเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยได้อีกด้วย โดยทุนทางสังคมเป็นเรื่องของการสร้างเครือข่าย
ระหว่างประชาชน เพื่อขับเคลื่อนบางสิ่งบางอย่างให้เกิดขึ้น ซึ่งหากมีการพัฒนา
ประชาชนในประเทศให้มีคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองแล้ว ก็ย่อมจะทำให้
* นักศึกษาปริญญาโท สาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์