Page 508 - kpi17073
P. 508
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 507
Society Focal Points) ส่งผลให้ร่างกฎหมายหลายฉบับเกิดจากการมีส่วนร่วมของ
ภาคประชาสังคมโดยแท้จริง
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม้ภาคประชาสังคมในประเทศไทย
จะมีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็งตลอดจนมียุทธวิธีการเคลื่อนไหวเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในกระบวนการนิติบัญญัติหลากหลายรูปแบบ แต่ในทางปฏิบัติกลับประสบกับสภาพปัญหาการขาด
อิสระในการดำเนินงานและมักถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติมักไม่ค่อยให้ความร่วมมือและตระหนักถึงความ
สำคัญของบทบาทของภาคประชาสังคมเท่าที่ควร จึงมีความจำเป็นต้อง ปฎิรูปกลไกที่เกี่ยวข้อง
และแสวงหาแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
กับกระบวนการนิติบัญญัติ ดังนี้
1. พัฒนากระบวนการดำเนินงานระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติ
และภาคประชาสังคมในรูปแบบใหม่ๆ (New form of Partnership) ที่มีความยืดหยุ่นในการ
ดำเนินงานมากกว่ากลไกที่มีอยู่เดิมที่มีลักษณะยึดโยงกับสถาบันและโครงสร้างองค์กร ซึ่งจะนำไป
สู่การพัฒนาความสัมพันธ์และการสร้างความไว้วางใจร่วมกัน (Mutual Trust) ระหว่างองค์กร
ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติและภาคประชาสังคม เช่น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มีความทันสมัยที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการ
ดำเนินงานและเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติและ
ภาคประชาสังคมให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
2. พัฒนากลไกและมาตรการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมใน
กระบวนการนิติบัญญัติ ดังนี้
(1) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคประชาสังคม โดยการออกกฎหมายกลาง
หรือ กฎหมายแม่บท ที่ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาสังคม
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างกฎหมาย อาจประกอบไปด้วย
กฎระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน (CSOs framework regulation) การรับเงิน
สนับสนุน (Public funding of CSO) การจ่ายภาษี (CSO tax regulation) และ
การประกันความเป็นอิสระขององค์กร (CSO independence)
(2) จัดทำยุทธศาสตร์ (Strategy) ว่าด้วยมาตรการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง
ภาคประชาสังคมและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติ โดยสร้าง
หลักประกันให้องค์กรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการและความร่วมมือตามที่
กำหนดไว้ ทั้งนี้ เนื้อหาที่ปรากฏในกรอบความร่วมมืออาจมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
มาตรการและกลไกหลากหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสามารถส่งเสริมให้ทุกภาค