Page 505 - kpi17073
P. 505
504 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
รณรงค์ในช่วงระยะเวลาก่อนที่จะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภานั้น
ภาคประชาสังคมมักกระทำการรณรงค์ด้วยยุทธวิธีการเจรจาและการโน้มน้าวใจสมาชิกรัฐสภา
และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องให้สถาบันนิติบัญญัติตรากฎหมายไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ
ผลประโยชน์ของประชาชน ในขณะที่การรณรงค์เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายนั้น
มักกระทำในรูปแบบของการยื่นข้อเสนอเรียกร้อง เช่น การยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อบุคคลในวง
งานนิติบัญญัติ และการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้สังคมมีความเห็นคล้อยตามกับข้อเสนอ เป็นที่น่า
สังเกตว่าการรณรงค์ในรูปแบบดังกล่าวไม่มีข้อจำกัดด้านกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน เนื่องจากการ
เสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายสามารถกระทำได้ตราบเท่าที่กฎหมายฉบับนั้นยังไม่มีการ
ยกเลิกการใช้บังคับ
ร ป บบ การ ส นร า ประ าสั นกระบ นการน บั ั
การแบ่งระดับและประเภทของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการ
นิติบัญญัติอาจแบ่งได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความละเอียดของการจำแนก ผู้เขียน
เห็นว่าหลักเกณฑ์การแบ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำนโยบายที่จัดทำ
โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Citizens as Partners: OECD
handbook on Information, Consultation and Public Participation in Policy-Making,2011)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมใน
กระบวนการนิติบัญญัติได้
ตารางแสดงระดับและประเภทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ
ระดับการให้ข้อมูล ระดับการปรึกษาหารือ ระดับการร่วมปฏิบัติ
(Access to information) (Consultation) (Partnership)
- การเผยแพร่ข้อมูลในวงงาน - การรับฟังความคิดเห็นของ - การจัดตั้งภาคีเครือข่าย คณะ
นิติบัญญัติ เช่น ร่างกฎหมาย ประชาชนหลากหลายรูปแบบเพื่อใช้ ทำงาน กลุ่มเฉพาะกิจเพื่อการจัดทำ
รายงานและบันทึกการประชุมของ ประกอบในการจัดทำกฎหมายและ ร่างกฎหมาย ร่วมกับผู้มีสิทธิเสนอ
รัฐสภา เอกสารประกอบการพิจารณา กฎระเบียบของรัฐ ร่างกฎหมายประเภทต่างๆ
ร่างกฎหมาย ผ่านสื่อประเภทต่างๆ
- การจัดกิจกรรมทางวิชาการใน - การที่ประชาชนใช้สิทธิในการเสนอ
- การถ่ายทอดการประชุมรัฐสภาและ รูปแบบต่างๆ เพื่อรับทราบข้อคิดเห็น ร่างกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
กิจกรรมการเคลื่อนไหวใน และข้อเสนอแนะจากประชาชน - การที่องค์กรภาคประชาสังคมเข้าไป
กระบวนการนิติบัญญัติ - การยื่นข้อเรียกร้องและการรณรงค์ เป็นคณะกรรมาธิการประเภทต่างๆ
- การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ในรูปแบบต่างๆ ของภาคประชาสังคม ในการพิจารณาร่างกฎหมายของ
เข้ามามีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ ต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ รัฐสภา
กิจกรรมดังกล่าว นิติบัญญัติเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง
- การจัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่
องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ
นิติบัญญัติ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 the EU Member States, 2011
แหล่งที่มา : Publication on best practices of citizen participation in the Western Balkan countries and