Page 502 - kpi17073
P. 502

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   501


                      สะดวก ผลของการเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights
                      Act) ค.ศ.1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ค.ศ.1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกัน

                      ระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ

                                          ๏ กรณีศึกษาของประเทศไทย


                                            นักวิชาการหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้การเคลื่อนไหวของภาค

                      ประชาชนในประเทศไทยหลายครั้งจะยังไม่ถือว่าเป็นการใช้ยุทธวิธีอารยะขัดขืนอย่างเต็มรูปแบบ
                      เหมือนในต่างประเทศแต่มีกรณีศึกษาบางกรณีที่สามารถถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่ภาคประชาชน
                      ใช้รูปแบบปฏิบัติการเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่ประชาชนมีความรู้สึกว่าไม่เป็น

                      ธรรม เช่น การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการ
                      ชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ที่ประชาชนหลากหลาย

                      กลุ่มได้ทำการเคลื่อนไหวกดดันให้รัฐสภาเพิกถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวออกจาก
                      กระบวนการนิติบัญญัติได้สำเร็จ ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มก่อให้
                      เกิดพลังมวลชนที่เข้มแข็ง รูปแบบการปฏิบัติการที่น่าสนใจคือ การนัดหยุดงาน การชุมนุม

                      ประท้วง การปิดล้อมสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญต่างๆ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ
                      นโยบายของรัฐบางประการ



                      2.  การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ



                            การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัตินับเป็นประเด็นที่ประเทศ
                      ต่างๆทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมใน

                      กระบวนการจัดทำกฎหมาย (Law Making Process) การพิจารณาร่างกฎหมาย (Consideration
                      of Bills)  และการประเมินสภาพการใช้บังคับกฎหมายภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมาย

                      ล้วนแล้วแต่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมคุณภาพของกฎหมายให้มีสภาพเหมาะสมกับความต้องการของ
                      ประชาชน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมาย สามารถ
                      ปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยสะดวก สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

                      ในกระบวนการนิติบัญญัติที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ ประกอบไปด้วย หลักการมีส่วนร่วมของ
                      ภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติและประเภทของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

                      ในกระบวนการนิติบัญญัติ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

                                1   ลักการ  ส  นร       า ประ าสั    นกระบ นการน   บั  ั


                               คู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการจัดทำกฎหมาย
                      ประเทศเซอร์เบีย (Guidelines for Inclusion of Civil Society Organizations in the
                      Regulation Adoption Process, 2014) กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมใน

                      กระบวนการนิติบัญญัติ ดังนี้                                                                        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506   507