Page 499 - kpi17073
P. 499

498     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ตามนโยบายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (University of Kansas, 2014) มูลเหตุจูงใจของ
                  ภาคประชาสังคมในการรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนิติบัญญัติมักเกิดขึ้น

                  เมื่อภาคประชาสังคมต้องการที่จะสื่อสารต่อบุคคลและองค์กรในกระบวนการนิติบัญญัติถึง
                  ประเด็นต่างๆ ในการที่จะเปลี่ยนแปลง คัดค้าน ร่างกฎหมายและกฎหมายให้เป็นไปตามความ
                  ประสงค์ของผู้กระทำการรณรงค์ (University of Kansas, 2014) รูปแบบของกิจกรรมที่ใช้กัน

                  อย่างแพร่หลายในการสื่อสารฯ ประกอบไปด้วย การยื่นข้อเรียกร้องต่อบุคคลและองค์กร
                  ที่เกี่ยวข้อง การชุมนุมและการประท้วง กระบวนการเจรจาต่อรองและกระบวนการโน้มน้าวบุคคล

                  และองค์กรผู้เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
                  ประเด็นทางกฎหมายที่ใช้ในการรณรงค์หลากหลายรูปแบบ เป็นต้น


                                      กรณีศึกษาเกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
                  ที่ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน คือ กระบวนการ

                  ผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540)
                  สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


                  ตารางแสดงยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในการผลักดันรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


                   ระดับการเคลื่อนไหว                       รูปแบบกิจกรรมที่ใช้ในการรณรงค์

                  ระยะจุดประเด็น      การจุดประเด็นโดยผู้มีชื่อเสียงในสังคม

                  ระยะพัฒนาเครือข่าย  - การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อเพิ่มพลังในการเคลื่อนไหว
                                      - การหาแนวร่วมในการนำเสนอเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มน้ำหนักในการเคลื่อนไหว

                  ระยะปฏิบัติการเชิงรุก  - การแทรกตัวเข้าเป็นคณะทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
                                      - การลอบบี้และการใช้สื่อบุคคล

                  ระยะสร้างกระแส      - การใช้สื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ
                  กดดันให้ร่างกฎหมาย - การเข้าไปรับฟังความคิดเห็นและจัดเวทีในพื้นที่
                  ผ่าน                - การจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

                  ที่มาของข้อมูล : ชิตาพร กันหลง,กระบวนการสื่อสารในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 วิทยานิพนธ์
                  คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543


                                      นอกจากนี้ กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบของการปฏิบัติการที่ภาค
                  ประชาชนใช้เพื่อผลักดันร่างกฎหมาย คือ กระบวนการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ
                  ในที่ดินทำกินของประชาชน (ร่าง พรบ.ธนาคารที่ดิน ร่าง พรบ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและ

                  ทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน ร่างพรบ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า และร่าง พรบ.กองทุน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                  ยุติธรรม) ภายใต้การดำเนินงานของ “เครือข่ายกฎหมายเพื่อคนจน 4 ฉบับ”
   494   495   496   497   498   499   500   501   502   503   504