Page 496 - kpi17073
P. 496
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 495
นักวิชาการชาวต่างประเทศได้กล่าวถึงพัฒนาการและความหมายของ “ภาคประชา
สังคม” ไว้อย่างน่าสนใจว่าจุดกำเนิดของภาคประชาสังคมมีพัฒนาการมาจากภูมิภาคยุโรป ในช่วง
ระหว่างปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการแบ่งแยก
“ภาคประชาสังคม” ออกจาก “ภาครัฐ” (Keane,1998) ในเวลาต่อมาภาคประชาสังคมได้ถูกนำ
ไปใช้ในประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมของ
กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ปกครองในประเด็นต่างๆ เช่น กระแสทุนนิยม ความเสมอภาค
ทางเพศ และการจัดสรรทรัพยากร เป็นต้น (Melucci,1998) ในประเด็นที่เกี่ยวกับความหมาย
ของภาคประชาสังคม ที่มีความยึดโยงกับลักษณะการรวมกลุ่มของภาคประชาสังคมนั้น Bridget
M.Hutter & Joan O Mahony (2004, pp.1-2) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่าภาค
ประชาสังคมหมายความรวมถึงการรวมกลุ่มแบบเป็นทางการ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ
องค์กรสาธารณกุศล สมาคมวิชาชีพ และการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มบุคคล
รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่างๆ (Advocacy Groups) และกลุ่ม
เครือข่ายต่างๆ (Network, Alliances) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการต่างประเทศบางกลุ่ม
ที่เห็นว่าภาคประชาชนมีความยึดโยงกับระบอบการปกครอง เช่น การมองว่าภาคประชาสังคม
มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่นักวิชาการในกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางเห็นว่าภาคประชาสังคมคือการรวมกลุ่มทางสังคม มีความเป็นอิสระจากภาครัฐ
ตลอดจนไม่มีความยึดโยงกับระบอบการปกครองใดๆ (Katie Pace,2010) สำหรับประเทศไทย
มีการให้ความหมายของภาคประชาสังคมไว้อย่างหลากหลาย เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์
สมุทวณิช ที่มีความพยายามในการมองแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม” ให้สอดคล้องกับบริบทของ
ประเทศไทย กล่าวคือ ประชาสังคมหมายถึงทุกภาคส่วนของสังคมโดยรวมถึงภาครัฐและ
ภาคประชาชนที่มีการดำเนินการร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วน หรือ Partnership ซึ่งแตกต่างจาก
บริบททางตะวันตกซึ่งมักเน้นย้ำว่า ภาคประชาสังคมจะต้องเป็นภาคส่วนที่แยกตัวมาจากรัฐ
(ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2543) นอกจากนี้นักวิชาการไทยบางกลุ่มได้พยายาม ให้คำนิยามของ
ภาคประชาชนที่ครอบคลุมไปถึงลักษณะการรวมกลุ่ม วัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มและผลจาก
การรวมตัวกันโดยมองว่า “ประชาสังคม” คือ การที่คนในสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันมารวมตัวกัน
ในการกระทำบางอย่างด้วยความรักและความเอื้ออาทรต่อกันภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความ
รู้สึกร่วมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะอันจะส่งผลให้เกิด “พลังอำนาจที่สาม” ที่ไม่ใช่ภาครัฐและภาค
ธุรกิจซึ่งพลังของภาคประชาสังคมจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมโดยรวมต่อไป
(กฤษฎา บุญชัย และคณะ,2556,น.12-13)
1 ลัก ะการร กล า ประ าสั
ลักษณะการรวมกลุ่มของภาคประชาสังคมในประเทศไทย มีพัฒนาการที่มีความ
น่าสนใจดังจะเห็นได้จากพัฒนาการด้านโครงสร้าง รูปแบบ และวัตถุประสงค์ของการรวมตัว ทั้งนี้
ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการของการรวมกลุ่ม คือ การรับรองสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนหลากหลายรูปแบบและสภาวะความไร้พรมแดนทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่ส่งผลให้ประชาชนรวมกลุ่มกันได้สะดวก จากการศึกษาพบว่าลักษณะการรวมกลุ่มของ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนในกระบวนการนิติบัญญัติไทยมีหลากหลายประเภท ดังนี้