Page 498 - kpi17073
P. 498

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   497


                      เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายโดยใช้เทคนิคการรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดการขยายผลใน
                      วงกว้าง เช่น ประชาชนหลากหลายกลุ่มสามารถรวมตัวกันภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเพื่อ

                      คัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
                      การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....


                                 (3) การรวมกลุ่มของภาคประชาสังคมโดยยึดวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม


                                          นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีกระบวนการเคลื่อนไหวโดยประชาชน
                      หลากหลายกลุ่มซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มเครือข่ายและองค์กรต่างๆ การรวมกลุ่มดังกล่าวเกิดจาก
                      การที่ประชาชนมีจิตสำนึกร่วมกัน มารวมตัวกันในการกระทำบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจ

                      จากการศึกษาพบว่าปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการรวมกลุ่มของประชาชนในประเทศไทย
                      ประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมจากภายนอกประเทศ เช่น กระแสเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิทธิ

                      มนุษยชนและสิทธิเสรีภาพต่างๆ ตามมาตรฐานสากลที่พลเมืองทุกรัฐควรจะได้รับ สำหรับปัจจัย
                      ภายในประเทศที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มคือ สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำและความ
                      ไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้น เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เครือข่ายสตรี

                      และเด็ก เครือข่ายที่รณรงค์ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ  เครือข่ายคนจนและผู้พิการที่รณรงค์ให้มี
                      การแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก กฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพตลอดจน

                      การเสนอให้มีการตรากฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
                      จากการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ เป็นต้น


                              1            การเ ล   น       า ประ าสั    นกระบ นการน   บั  ั

                               Wright Daniel (1985) ได้วิเคราะห์ถึงคุณลักษณะเด่นบางประการของภาค
                      ประชาสังคมในฐานะที่เป็นตัวแสดงหลักของประชาธิปไตยยุคใหม่ เช่น การมีบทบาทสำคัญใน

                      ฐานะเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐและสังคม ตลอดจนมีส่วนช่วยให้การปรับเปลี่ยนดุลแห่งอำนาจ
                      ระหว่างรัฐและประชาชนให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ภาคประชาสังคมมักใช้ยุทธวิธีการ

                      เคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถสร้างบรรทัดฐานแนวคิดใหม่ๆให้กับ
                      สังคมและนำไปสู่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้ ผู้เขียนเห็นว่าข้อค้นพบ
                      ดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของภาค

                      ประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติได้เป็นอย่างดี ดังนี้


                                 (1) การรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (Legislative
                      Advocacy)


                                          การรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย หรือ Legislative
                      Advocacy เป็นกระบวนการดำเนินงานร่วมกับผู้จัดทำกฎหมาย (Lawmakers) และองค์กรที่

                      เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติ (Lawmaking bodies) เพื่อโน้มน้าวบุคคลและองค์กร
                      ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย ซึ่งมีความแตกต่างจากความหมายของ
                      “การรณรงค์” ที่ใช้กันโดยทั่วไปซึ่งหมายถึงการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประสบความสำเร็จ         การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   493   494   495   496   497   498   499   500   501   502   503