Page 503 - kpi17073
P. 503
502 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
(1) การมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ
ทุกขั้นตอน (Active participation of the civil society organizations in all the stages
of the legislative process)
องค์กรภาคประชาสังคมมีบทบาทเชิงรุกในกระแสประชาธิปไตยยุคใหม่และ
บทบาทดังกล่าวส่งผลให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการนิติบัญญัติไปในทิศทางที่ดี เช่นการพัฒนา
คุณภาพการตรากฎหมายและกระบวนการนิติบัญญัติที่ดำเนินการโดยสถาบันการเมือง เพื่อให้
บรรลุผลตามเป้าประสงค์ดังกล่าว จะต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการนิติบัญญัติ
ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการยกร่างกฎหมาย การพิจารณากฎหมายไปจนถึงกระบวนการ
ตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้บังคับกฎหมายหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ไปซัก
ระยะหนึ่ง
(2) หลักความไว้วางใจร่วมกัน (Mutual Trust)
ประชาธิปไตยแบบเปิด (Open Democracy) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ
สื่อสารระหว่างพลเมืองกลุ่มผลประโยชน์และภาคส่วนต่างๆ หากแต่ในทางปฏิบัติการดำเนินงาน
ของรัฐมักจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า
กระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐและประชาชนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการ
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยแท้จริง สำหรับการพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัตินั้น กลไกและความร่วมมือระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม
มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในบางประเทศ เช่น ประเทศมอลโดวา ได้มีการจัดทำข้อมติเกี่ยวกับความ
ร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและรัฐสภา (Resolution concerning the approval of concept
of cooperation between Parliament and Civil Society, the Republic of Moldova, 2005)
สาระสำคัญของข้อมติดังกล่าวประกอบไปด้วยกรอบความร่วมมือที่เน้นการส่งเสริมให้ประชาชน
ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติทุกขั้นตอน เช่น การแก้ไขกฎหมายและ
กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค การกำหนดให้ภาคประชาชนเข้าไปเป็นกรรมาธิการเพื่อพิจารณา
ร่างกฎหมาย การร่วมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทางกฎหมาย การจัดประชุมประจำปีร่วมกัน
ระหว่างสมาชิกรัฐสภาและภาคประชาสังคม การจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างรัฐสภาและ
ภาคประชาชนในการยกร่างกฎหมายฉบับต่างๆ มาตรการที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้เสียงสะท้อน
จากประชาชนทุกภาคส่วนมีผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดทำและพิจารณาร่างกฎหมาย
ของรัฐสภา
(3) หลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 นับเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น หลักความโปร่งใสและ
กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ
ตรวจสอบได้ ถือเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
นิติบัญญัติและภาคประชาสังคมในทุกขั้นตอน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รูปแบบและวิธีการจัดรับฟัง